ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ |
|
|
|
ขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ |
|
|
จากการวิเคราะห์ของนักการศึกษาและนักจิตวิทยา ได้ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และได้จัดลำดับขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ (นิพนธ์ จิตต์ภักดี.2523 : 20) 1. ขั้นเตรียม (Preparation) เป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะ เพื่อมาประกอบการพิจารณา โดยอาศัยพื้นฐานของกระบวนการต่อไปนี้ 2. ขั้นฟักตัว (Incubation) เป็นขั้นที่ใช้เวลาสำหรับการครุ่นคิดเป็นระยะที่ยังคิดไม่ออกบางครั้งแทบไม่ได้ใช้ความคิดเลย การฟักตัวนี้บางครั้งความคิดอื่นจะแวบมาโดยไม่รู้ตัว 3. ขั้นคิดออก (Illumination or Inspiration) เป็นขั้นของการแสดงภาวะสร้างสรรค์อย่างแท้จริง คือสามารถมองเห็นลู่ทางในการริเริ่ม หรือสร้างสรรค์งานอย่างแจ่มชัด โดยตลอด 4. ขั้นพิสูจน์ (Verification) เป็นขั้นการทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงประเมินค่าวิธีการว่าใช้ได้หรือไม่ เพื่อให้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอนเป็นกฎเกณฑ์ต่อไป ขั้นที่ 1 การคิดสร้างสรรค์ขั้นต้น ขั้นที่ 2 ขั้นมีผลผลิตออกมา ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์ ขั้นที่ 4 ขั้นความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ขั้นที่ 5 ขั้นปรับปรุงความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขั้นที่ 6 ขั้นความคิดสร้างสรรค์สูงสุด สามารถแสดงความคิดเป็นนามธรรม
อ้างอิงจาก นิพนธ์ จิตต์ภักดี. (2523). “การสอนแบบสร้างสรรค์,” ประชากรศึกษา. 7(3) : 19-21 ; มิถุนายน- Divito,Altred. (1971). Recognized Assessing Creativity Developing Teacher Competencies. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall Inc. บุญเหลือ ทองอยู่. (2521). “ความคิดสร้างสรรค์,” มิตรครู. 7(4) : 3-4 เมษายน.
|