E-Learning : Complex permanent tissue
HOME
เนื้อเยื่อพืช (plant tissue)
เนื้อเยื่อเจริญ
เนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน

 

เนื้อเยื่อถาวรเซิงซ้อน (Complex permanent tissue)

     เกิดจากเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่
เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular bundle) ประกอบด้วย
เนื้อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)

เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem)
ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำคือ
  1. เทรคีด (Tracheid) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างยาวปลายค่อนข้างแหลม ที่ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน ไม่พบในพืชมีดอก เมื่อโตเต็มที่เวลลืจะตาย
  2. เวสเซล เมมเบอร์ (Vesel member) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีผนังหนา และมีสารพวกลิกนิน เซลล์มีรูปร่างยาวหรือสั้นปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงและมีช่องทะลุถึงกัน เมื่อโตเต็มที่เซลล์จะตาย เรียกเวสเซลเมมเบอร์หลายเซลล์มาเลียงต่อกันและมีช่องทะลุถึงกันว่าเวสเซล (Vesel)
  3. ไซเล็มพาเรงคิมา (Xylem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่พบในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
  4. ไซเล็มไฟเบอร์ (Xylem fiber) เป็นเซลล์ไฟเบอร์ที่พบในในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ

ภาพที่ 1 Xylem และPhloem




ภาพที่ 2เปรียบเทียบเทรคีด และ เวสเซลเมมเบอร์


ภาพที่ 3การลำเลียงน้ำแร่ธาตผ่านท่อไซเล็ม ลำเลียงอาหารผ่านทุ่อโฟลเอ็ม

 

เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)

ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พวก
1. ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์รูปร่างทรงกระบอกยาวที่ปลายผนัง 2 ด้านจะมีรูพรุนเรียก
ซีฟเพลต(Seive plate) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์หลายเซลล์มาเรียงต่อกันเรียกว่าซีฟทิวป์ (Sieve tube)
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์เมื่อโตเต็มที่นิวเคลียสจะสลายไปเพื่อให้การลำเลียงอาหาร มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.คอมพาเนียนเซลล์(Companion cell) เป็นเซลล์ที่อยู่ติดกับซีฟทิวป์เมมเบอร์โตเต็มที่มีชีวิตตลอดโดยทำหน้าที่สร้างสารที่จำเป็นส่ง
ให้กับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) ซึ่งไม่มีนิวเคลียส
3. โฟลเอ็มพาเรงคิมา (Phloem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่พบอยู่ในเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม
4. โฟลเอ็มไฟเบอร์ (Phloem fiber) เป็นเซลล์ไฟเบอร์ที่พบในเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม

 

ภาพที่ 4 ภาพ Sieve plate


ภาพที่ 5 เซลล์องค์ประกอบของ phloem

จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา