![]() |
||
|
![]() |
น้ำดี (Bile) เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม หลั่งออกมาจากเซลล์ตับ (hepatocyte) น้ำดีจะถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีในระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อมีการรับประทานอาหารน้ำดีจะถูกปล่อยออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ที่ซึ่งน้ำดีจะไปทำหน้าที่ช่วยในการย่อยพวกไขมัน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของลิพิด
องค์ประกอบของน้ำดี ได้แก่
๐ เกลือน้ำดี ได้แก่ โซเดียมไกลโคโคเลตและ โซเดียมทอโรโคเลต
๐ ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids)
๐ รงควัตถุน้ำดีบิลิน (Bilin)เป็นสารที่ทำให้เกิดสีในน้ำดี
๐ คอเลสเตอรอล
๐ น้ำ
น้ำดี มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เกลือน้ำดี (bile salt ) ซึ่งช่วยให้ลิพิดแตกตัวเป็นหยดเล็กๆ และแขวนลอยอยู่ในน้ำในรูป อิมัลชัน (emulsion ) ตับอ่อนและเซลล์บุผิวที่ผนังลำไส้เล็กจะสร้างเอนไซม์ลิเพส ซึ่งจะย่อยลิพิดที่อยู่ในรูป อิมัลชัน ให้เป็นกลีเซอรอล และ กรดไขมัน
1. น้ำดี
2. น้ำมันพืช
3. น้ำ
4. หลอดหยด
5. แท่งแก้วคนสาร
6. บีกเกอร์ขนาด 50 ml
1) นำน้ำมันพืช 10 ml และน้ำ 10 ml เติมลงไปในบีกเกอร์ จำนวน 2 บีกเกอร์
2) เติมน้ำดีลงในบีกเกอร์ที่ 1 ปริมาตร 10 ml
ใช้แท่งแก้วคนสารคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 30 ถึง 60 นาที
3) สังเกตการเปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างบีกเกอร์ที่ 1 และ บีกเกอร์ที่ 2 และบันทึกผล
1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสองเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
แนวคำตอบ
แตกต่างกันใน บีกเกอร์ ที่ 2 ที่ไม่เติมน้ำดี หยดไขมันที่รวมตัวกันมีอนุภาคใหญ่กว่า หยดไขมันในบีกเกอร์ที่ 1 ที่เติมน้ำดี
2. น้ำดีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันพืชอย่างไร ?
แนวคำตอบ
น้ำดีทำให้โมเลกุลของน้ำมันพืชขนาดใหญ่แตกออกเป็นหยดไขมันขนาดเล็กและอยู่ในรูปของอิมัลชัน
รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา
หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยา เล่ม4 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551