3. กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism)

กลุ่มหน้าที่นิยมมีความเชื่อเบื้องต้นคล้ายกลุ่มโครงสร้างนิยม ที่ว่ามนุษย์แต่ละคนประกอบไปด้วยกายกับจิตที่สัมพันธ์กัน แต่ กลุ่มนี้มุ่งศึกษาสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตนต่อสิ่งแวดล้อมหรือแก้ปัญหาได้ดี และเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ เรียนรู้ ของ มนุษย์ดว้ย ผู้นำสำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มหน้าที่นิยม ได้แก่ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey, 1859-1952) และวิลเลี่ยม เจมส์ (Willi am James, 1742-1910)

อห์น ดิวอี้ นั้น มีความเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีหรือไม่ ได้แก่ประสบการณ์ (experience) เขาเห็นว่า "การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ" (Learning by doing.) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของมนุษย์ ที่จะต้องมีการส่งเสริม ส่วน วิลเลี่ยม เจมส์เชื่อว่าสัญชาติญาณ (instinct) เป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม คำว่า "สัญชาตญาณ" ในทัศนะของเจมส์ หมายถึงสิ่งที่มีแล้วในตัวบุคคล ทำให้ บุคคลมีแนวโน้มที่จะกระทำอย่างใด อย่างหนึ่งโดยที่ การกระทำนั้น ๆ ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน ต่อมาภายหลังจิตวิทยาสมัยใหม ่พิสูจน์ว่าพฤติกรรม ของมนุษย์ส่วนใหญ่มีสาเหตุ พฤติกรรม ของสัตว์ ชั้นต่ำเท่านั้นที่มีเรื่องของสัญชาตญาณ เช่น แม่ไก่กกไข่ นกสร้างรัง ซึ่งเมื่อถึงเวลามัน ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัย ประสบการณ์หรือการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามแนวคิด ที่ใช้ประโยชน์ได้มากของ วิลเลียม เจมส์ คือ เรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด ของบุคคล และการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อช่วยแก้ปัญหาทาง อารมณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสมอันจัด เป็นอีกส่วนหนึ่ง ของความฉลาดทางอารมณ์

แนวคิดของกลุ่มหน้าที่นิยมนี้ นอกจากเสริมสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ของบุคคลแล้ว ยังนำมาใช้เสริมสร้างพัฒนา พฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลได้ โดยให้บุคคลได้มีประสบการณ์ให้มาก โดยเฉพาะประสบการณ์ตรง ปฏิบัติจริง เผชิญปัญหาและแก้ปัญหาจริงเพื่อให้ "คิดเก่ง ทำเป็น แก้ปัญหาได้" ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาของไทยใน ปัจจุบันที่ "เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ" (student center) ที่ควรต้อง "เรียนรู้เชิงประสบการณ์" (active learning)



คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่
Free Hit Counter
Hit Counter