เฉลยคำถามท้ายบทที่ 16
                                             ระบบภูมิคุ้มกัน

 

   1.จงใส่เครื่องหมายถูก / หน้าข้อความที่ถูกต้อง ใส่เครื่องหมายผิด (X) หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง และขีดเส้นใต้เฉพาะคำหรือส่วนของข้อความที่ไม่ถูกต้อง และแก้ไขข้อความโดยตัดออกหรือเติมคำหรือข้อความที่ถูกต้องลงในช่องว่าง

   (......เฉลย.......)

(    )

1.1 กลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะมีประสิทธิภาพสูงกว่า กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะเนื่องจากมีความจำเพาะต่อแอนติเจนและการมีเซลล์ความจำต่อแอนติเจนนั้น

(    )

1.2 แมโครฟาจพัฒนามาจากโมโนไซต์ มีหน้าที่ทำลายแอนติเจนและนำเสนอชิ้นส่วนของแอนติเจนบนผิวเซลล์ต่อเซลล์ที ชนิดCD4

(    )

1.3 เซลล์พลาสมาพัฒนามาจากเซลล์ทีชนิด CD4 ที่ถูกกระตุ้น เพื่อสร้างแอนติบอดี

(    )

1.4 เด็กที่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวจำเป็นต้องได้รับวัคซีนนี้ช้ำอีก

(    )

1.5 การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทุกชนิด

(    )

1.6 เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะถูกเซลล์บีเข้าทำลายได้โดยตรง

(    )

1.7  เซลล์ความจำเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเซลล์บีเท่านั้น

(    )

1.8 ทอกซอยด์ผลิตจากสารพิษของแบคทีเรีย

2. เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล เซลล์ต่างๆในระบบภูมิคุ้มจะมีการตอบสนองดังแผนภาพจงนำคำศัพท์ที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง (ตอบซ้ำได้)

 (......เฉลย.......)

เซลล์แมสต์

 

แมโครฟาจ

เซลล์พลาสมา

นิวโทรฟิลและโมโนไซต์

เซลล์ทีชนิด CD4

เซลล์ทีชนิด CD8

 

3. เด็กที่เกิดมาแล้วไม่มีไทมัสจะขาดเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดใดและมีผลต่อร่างกายอย่างไร (......เฉลย.......)

4. ถ้าร่างกายมีจำนวนแมโครฟาจน้อยลงจะมีผลทั้งกลไกการป้องกันหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะและแบบจำเพาะทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด (......เฉลย.......)

5.กราฟแสดงระดับแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อแอนติเจน A และแอติเจน B ในเลือดของชายคนหนึ่ง

จงตอบคำถามต่อไปนี้
       5.1 หมายเลขใดแสดงช่วงเวลาของระดับแอนติบอดีในเลือดที่เกิดการตอบสนองครั้งแรกต่อแอนติเจน A และแอนติเจน B

            (......เฉลย.......)

       5.2 เพราะเหตุใดระดับแอนติบอดีสูงสุดในเลือดของเส้นกราฟ ก. ที่ช่วงเวลาหมายเลข 1 และหมายเลข 2จึงต่างกันและระยะเวลาในการตอบสนองหลังจากได้รับแอนติเจน A ในแต่ละช่วงเวลาจึงไม่เท่ากัน

           (......เฉลย.......)

       5.3 เพราะเหตุใดในช่วงเวลาหมายเลข 3 ของเส้นกราฟ ข. จึงมีการตอบสนองคล้ายกับในช่วงเวลาหมายเลข 1 ของเส้นกราฟ ก.

          (......เฉลย.......)

 

6. ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะมีความเสี่ยงอย่างไร เพราะเหตุใดแพทย์จึงต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

    (......เฉลย.......)

 

7. ผลการเจาะเลือดทุก  4 เดือนของผู้ป่วยรายหนึ่งที่ได้รับเชื้อ HIV พบว่าในช่วงเวลา 6 ปี นับตั้งแต่เริมติดเชื้อ จำนวนเซลล์ทีชนิด CD4 ต่อเลือด1 ไมโครลิตร มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 662, 743 ,684 ,798, 763, 528 ,597, 442, 446, 360, 287, 199, 260, 225, 197, 168, 155,48

       7.1 จงเขียนกราฟแสดงการแสดงการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเซลล์ทีชนิด CD4

             (......เฉลย.......)

       7.2  อธิบายการเปลี่ยนแปลงจำนวนเซลล์ทีชนิด CD4 ของผู้ป่วยหลังได้รับเชื้อ HIV

            (......เฉลย.......)

      7.3 จำนวนเซลล์ทีชนิด CD4 เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันและอาการของผู้ป่วยอย่างไร

            (......เฉลย.......)

 

8. เพราะเหตุใดผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องรับประทานยาต้านเชื้อไวรัสและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

     (......เฉลย.......)

 

 

 

 

กลับหน้าหลักสื่อการสอน >>>

 

อ้างอิงจาก :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4 ฉบับเผยแพร่ 2563.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 
 

เฉลยคำถามท้ายบท

ชีววิทยาพื้นฐาน หลักสูตร 60 ชีววิทยา เล่ม 1 หลักสูตร 60 ชีววิทยา เล่ม 2 หลักสูตร 60
ชีววิทยา เล่ม 3 หลักสูตร 60 ชีววิทยา เล่ม 4 หลักสูตร 60 ชีววิทยา เล่ม 5 หลักสูตร 60
เฉลยข้อสอบ O-net ชีววิทยา กลับหน้าหลัก NaNa-bio.com