แผนจัดการเรียนรู้

        

องค์ประกอบและ รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้

  ความหมายของแผนจัดการเรียนรู้

   ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

  ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี

  องค์ประกอบและรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้

หน้าหลักสืบค้น

 

         (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2546, หน้า 213-216)
แผนการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ  ดังต่อไปนี้
ส่วนนำ : รายวิชา / กลุ่ม ชั้น ชื่อหน่วยการเรียนรู้ หรือชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวนเวลาที่สอน
1.  จุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.  สาระการเรียนรู้
3.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
4.  การวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้
5.  แหล่งการเรียนรู้
6.  บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

รูปแบบของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือสถานศึกษาแต่ละแห่งจะกำหนด อย่างไรก็ตามลักษณะส่วนใหญ่ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
             

          1. แบบเรียงหัวข้อ รูปแบบนี้จะเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ต้องตีตารางรูปแบบนี้ให้ความสะดวกในการเขียน เพราะไม่ต้องตีตาราง แต่มีส่วนเสียคือยากต่อการดูให้สัมพันธ์กันในแต่ละหัวข้อ ดังตัวอย่าง (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2534, หน้า  34)

     ตัวอย่างรูปแบบการสอนแบบเรียงหัวข้อ
     แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  หน่วยที่………………………………............................
     หน่วยย่อยที่………………………………..ชั้น…………………………………………
     เรื่อง……………………………………………………เวลาเรียน…………………คาบ

     1.  สาระสำคัญ .................................................................................................................

    

     2.  จุดประสงค์
         2.1  จุดประสงค์ปลายทาง…………..……………………………………….....……
         2.2  จุดประสงค์นำทาง…………………………………………………….......……

     3.  เนื้อหา …………………………………………………………….……….….……

     4.  กิจกรรมการเรียนการสอน.................................................................................……

     6.  การวัดและประเมินผล ..............................................................................................

     7.  กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม  หรือภาคผนวก

             

    2.  แบบกึ่งตาราง รูปแบบนี้จะเขียนเป็นช่องๆตามหัวข้อที่กำหนด แม้ว่าต้อง
ใช้เวลาในการตีตารางแต่ก็สะดวกต่อการอ่าน ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้ออย่างชัดเจน ดังตัวอย่าง (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2540, หน้า 206)

     ตัวอย่างรูปแบบแผนการสอนแบบกึ่งตาราง
     แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มวิชา………………………………..ชั้น………………………
     หน่วยที่……………….เรื่อง……………………….เวลา……….คาบ  ...........................................
     วันที่……………........................................................................................................................

สาระสำคั……………………………………………………...........…………………………………

จุดประสงค์ปลายทาง   1. …………………………………………......................……………………
                                    2………………………………………….......................…………………….

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

เนื้อเรื่อง

กิจกรรม  การเรียน
การสอน

สื่อการเรียน
การสอน

การวัดและประเมินผล

หมายเหตุ

 

 

 

 

 

1.  ขั้นนำ
……..........................................…...
…………...........................………..
……............................…………….
2.  ขั้นสอน
….............................................……
…………............................……….
……………............................…….
3.  ขั้นสรุป
…..............................................……
……………………………………..
4.  ขั้นวัดผล
…….................................................
………............................………….

 

 

 

ภาพ 1  ตัวอย่างรูปแบบแผนการสอนแบบกึ่งตาราง
ที่มา. จาก หลักการสอน (หน้า 206),โดย อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2540, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง

 

3.  แบบตาราง รูปแบบนี้จะเขียนเป็นช่องๆ คล้ายแบบกึ่งตาราง โดยนำหัวข้อ สาระสำคัญมาไว้ในตารางด้วย ดังตัวอย่างตาราง (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2540, หน้า 221-223)


ตัวอย่างแผนการสอนกลุ่ม……………….ชั้น……..เวลา……คาบหน่วย………………………..

สาระสำคัญ

จุดประสงค์

เนื้อหา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การวัด

 

 

 

ขั้นนำ

ขั้นสอน

 

ขั้นสรุป

 

 

ภาพ 2  ตัวอย่างแผนการสอนแบบตาราง
ที่มา. จาก หลักการสอน (หน้า 221-223),โดย อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2540, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง

 

          กล่าวโดยสรุป แผนการสอนที่ดีเป็นแผนการสอนที่ให้แนวทางการสอนแก่ผู้สอนอย่างชัดเจนทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล โดยเฉพาะแนวทางการจัดกิจกรรม ควรเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ได้คิด ได้ทำ ได้แก้ปัญหา และให้เกิดทักษะกระบวนการสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้

 

 

 

อ้างอิงจาก

อาภรณ์ ใจเที่ยง.(2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ:  โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534). คู่มือการอบรมครูแนวการใช้หลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2521  (ฉบับปรับปรุง  พ.ศ.  2533)  วิทยาศาสตร์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.