|
|
เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560 สอบมีนาคม 2561 |
|
|
ข้อ 1 ( 4 )
ข้อ 2 ( 2 )
ข้อ 3 ( 3 )
ข้อ 4 ( 4 )
ข้อ 5 ( 4 )
ข้อ 6 ( 2 )
ข้อ 7 ( 1 )
ข้อ 8 ( 4 )
ข้อ 9 ( 2 )
ข้อ 10 ( 4 )
ข้อ 11 ( 5 )
ข้อ 12 ( 5 )
|
ข้อ 13 ( 4 )
ข้อ 14 ( 4 )
ข้อ 15 ( 2 )
|
สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
ข้อ 1) เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่งมีกลไกการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ 4 รูปแบบ ได้แก่ A B C และ D โดยสภาวะเริ่มต้นของการลำเลียงสาร แสดงดังภาพ
(O-net 60)

ข้อใดกล่าวถึงรูปแบบการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ได้ถูกต้อง
1.รูปแบบ A เท่านั้น ที่มีความจำเพาะต่อสาร เนื่ิองจากสารลำเลียงจากความเข้มข้นน้อยไปมาก
2.รูปแบบ B มีอัตราเร็วของการลำเลียงสารมากกว่ารูปแบบ D เนื่องจากสารแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง
3. รูปแบบ C เป็นการลำเลียงที่สารจะต้องเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับเยื่อหุ้มเซลล์
4. รูปแบบ D เป็นการลำเลียงของน้ำ เมื่อแช่เซลล์พืชทิ้งไว้ในสารละลายเจือจาง
5. รูแบบ A และ D ต้องใช้พลังงานจากเซลล์ในการลำเลียงสาร เนื่องจากใช้โปรตีนเป็นตัวพา |
|
คำตอบข้อ 1 ) ตอบ (4 )
รูปแบบ D เป็นการลำเลียงของน้ำ เมื่อแช่เซลล์พืชทิ้งไว้ในสารละลายเจือจาง
เหตุผล
การลำเลียงสารแบบ A เป็นการลำเลียงสารที่ต้านความเข้มข้น ควรเป็นการลำเลียงสารแบบใช้พลังงาน (active transport)
การลำเลียงสารแบบ B เป็นการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยไม่อาศัยตัวพา เป็นการแพร่แบบธรรมดา (simple diffusion)
การลำเลียงสารแบบ C เป็นการนำสารเข้าสู่เซลล์โดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นการลำเลียงสารแบบเอนโดไซโทซิส (Endocytosis)
การลำเลียงสารแบบ D เป็นการแพร่ของสารแบบอาศัยตัวพา โดยสารต้องเคลื่อนผ่านช่องโปรตีนหรือโปรตีนตัวพา ภายในเยื่อหุ้มเซลล์เป็นการลำเลียงสาร
โดยการแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated diffusion)
๐ ดังนั้นข้อความที่กล่าวถูกต้องที่สุด คือ ตัวเลือกในข้อ 4 เพราะน้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยอาศัยการแพร่แบบธรรมดาได้เล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ จะลำเลียงผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านโปรตีนตัวพาที่ชื่อว่า อควาโพริน
:ซึ่งน้ำจะสามารถไหลเข้าออกได้อย่างรวดเร็วผ่านทางช่องทางนี้
 |
|
ข้อ 2) จัดชุดการทดลองในห้องโล่งที่แสงส่องถึงได้ เพื่อสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของฟองอากาศ ในหลอดแก้ว ที่เต็มไปด้วยน้ำ ขณะเริ่มการทดลอง ฟองอากาศอยู่ในต่ำแหน่ง A ดังภาพ เมื่อเวลาผ่านไป ฟองอากาศค่อยๆเคลื่อนที่สูงขึ้น โดยพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง ฟองอากาศจะเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่ง B (O-net 60)

หากต้องการให้ฟองอากาศเคลื่อนที่ถึงตำแหน่ง B เร็วขึ้น ควรปรับปรุงชุดการทดลองนี้อย่างไร
1. ทดลองในห้องมืดที่เป็นระบบปิด
2. เปิดโคมไฟให้แสงส่องใบพืชเพิ่มมากขึ้น
3. เด็ดใบพืชออกบางส่วนแลทาขี้ผึ้งตามรอยเด็ด
4. เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศของห้องให้มากขึ้น
5. เปลี่ยนกิ่งพืชโดยใช้พืชชนิดเดิมที่มีจำนวนใบเท่าเดิมแต่มีขนาดใบเล็กลง |
|
คำตอบข้อ 2 ) ตอบ (2) เปิดโคมไฟให้แสงส่องใบพืชเพิ่มมากขึ้น
เหตุผล
ในการทดลองนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงดึงจากการคายน้ำ ผ่านทางใบ โดยหลอดแก้วแทนท่อลำเลียงน้ำ เมื่อมีการคายน้ำโมเลกุลของน้ำจะถูกดึงเข้ามาแทนที่
โมเลกุลของน้ำที่สูญเสียไป จะทำให้ระดับน้ำในหลอดแก้วสูงขึ้น ดันให้ฟองน้ำในตำแหน่งA เคลื่อนตัวไปยังตำแหน่ง B
๐ หากต้องการปรับปรุงการทดลองให้ฟองอากาศเคลื่อนมายังตำแหน่ง B เร็วขึ้น ควรให้ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น เช่น
การเพิ่มอุณหภูมิ , ลดความชื้น , เพิ่มความเข้มแสง หรือเพิ่มจำนวนของใบเป็นต้น
๐ ซึ่งจากตัวเลือกเหตุการณ์ที่ทำให้การคายน้ำเพิ่มมากขึ้น คือตัวเลือกในข้อ 2 คือ การเปิดโคมไฟให้แสงส่องใบพืชเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าว
เป็นการเพิ่มความเข้มแสง และเพิ่มอุณหภูมิ ทำให้อัตราการคายน้ำเพิ่มสูงขึ้น ฟองอากาศจากตำแหน่ง A จะเคลื่อนเข้าไปแทนที่ตำแหน่ง B เร็วขึ้นตามไปด้วย
|
|
ข้อ 3) ข้อใดเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพน้ำของพืชมาใช้ไม่ถูกต้อง(O-net 60)
1. การเด็ดใบของพืชให้น้อยลงก่อนการเคลื่อนย้ายต้นพืช เพื่อลดการเหี่ยวเฉา
2. การรดน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ย เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์รากพืช
3. การเพาะกิ่งปักชำในบริเวณที่แสงแดดจัด เพื่อเพิ่มอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. การปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่บรรยากาศและกระตุ้นการหมุนเวียนของน้ำ
5. การเลือกปลูกพืชอวบน้ำที่มีใบขนาดเล็กในพื้นที่แห้งแล้ง เพื่อเพิ่มอัตราการรอดของพืช |
|
คำตอบข้อ 3 ) ตอบ ( 3 ) การเพาะกิ่งปักชำในบริเวณที่แสงแดดจัด เพื่อเพิ่มอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
เหตุผล
๐ การปักกิ่งชำไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดจัด จะเพิ่มโอกาสให้พืชสูญเสียน้ำ มากยิ่งขึ้น ทำให้กิ่งชำเหี่ยวเฉาได้ง่าย จึงเป็นการนำความรู้
เกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพน้ำของพืชมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง

|
|
|
ข้อ 4)
ในทะเลทราย ซึ่งมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ถ้ามนุษย์ทำกิจกรรมโดยไม่ดื่มน้ำ ข้อใดคือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อปรับสมดุลน้ำทันทีที่หยุดกิจกรรม(O-net 60)
ตัวเลือก |
ความเข้มข้นของเลือด |
ต่อมใต้สมอง |
ท่อหน่วยไต |
1. |
ลดลง |
ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน |
ไม่ดูดน้ำกลับ |
2. |
ลดลง |
สร้างฮอร์โมน |
ดูดน้ำกลับ |
3. |
สูงขึ้น |
ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน |
ไม่ดูดน้ำกลับ |
4. |
สูงขึ้น |
สร้างฮอร์โมน |
ดูดน้ำ |
5. |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ยับยั้งกาสร้างฮอร์โมน |
ดูดน้ำ |
|
|
คำตอบข้อ 4 ) ตอบ ( 4 )
เหตุผล
๐ จากเหตุการณ์เมื่อ อุณหภูมิสูง ร่างกายจะสูญูเสียน้ำไปจากการเสียเหงื่อ และมีการดำเนินกิจกรรมในบริเวณดังกล่าวโดยไม่ดื่มน้ำร่างกายจึงมีกลไกเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในกระแสเลือด
เป็นผลให้
# ความเข้มข้นของเลือด ===> สูงขึ้น ===>เพราะร่างกายมีการสูญเสียน้ำ
# ต่อมใต้สมอง ===>
จะกระตุ้นให้ไฮโพทาลามัสสร้างฮอร์โมน ===> เพราะไฮโพทาลามัสมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ADH มาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนท้าย
# ท่อหน่วยไต ===> จะดูดกลับน้ำ ===> เนื่องจาก ฮอร์โมน ADH จากต่อมใต้สมองส่วนท้ายที่หลั่งออกมาตามกระแสเลือด กระตุ้นให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือด
|
|
|
ข้อ 5)
การตรวจสอบโปรตีนบนผิวของละอองเรณูในดอกไม้ 3 ชนิด เป็นดังตาราง(O-net 60)

จากข้อมูล ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงละอองเรณูของดอกไม้ชนิดใด เพราะเหตุใด
1. ชนิดที่ 1 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน
2. ชนิดที่ 1 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะไม่จับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
3. ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน
4. ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
5. ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะไม่จับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮีสตามีน |
|
|
คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (4) ชนิดที่ 2 และ 3 เนื่องจากโปรตีนบนผิวจะจับกับแอนติบอดีแล้วกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน
เหตุผล
๐ แอนติเจน (Antigen) มักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดี (Antibody) ที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ)

๐ จากผลเลือดผู้ป่วยมีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา 3 แบบ เมื่อพิจารณาความสามารถในการจับ กับแอนติเจน พบว่าสามารถเข้าคู่ได้กับ แอนติเจนชนิดที่ 2 และแอนติเจนชนิดที่ 3 เมื่อแอนติเจนกับแอนติบอดีจับกันแล้วจะกระตุ้น ให้มีการหลั่ง สารฮิสตามีน ดังภาพ
 |
|
|
|
|
|
|
|

|
|
|
พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::
ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค
::
|
   
|