เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560 สอบมีนาคม 2561

 

ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2560 สอบมีนาคม 2561

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 2 )

ข้อ 3 ( 3 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 4 )

ข้อ 6 ( 2 )

ข้อ 7 ( 1 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 2 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 5 )

ข้อ 12 ( 5 )

 

 

 

ข้อ 13 ( 4 )

ข้อ 14 ( 4 )

ข้อ 15 ( 2 )

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ข้อ 11) กระบวนการใดที่ทำให้แก๊สคาร์บอนไดอกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นและลดลง ตามลำดับ (O-net 60)

1.  การคายน้ำ ,การหายใจ
2.   การสังเคราะห์ด้วยแสง ,  การหายใจ
3.  การหายใจ ,การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์
4.  การสังเคราะห์ด้วยแสง ,การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์
5.  การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์, การสังเคราะห์แสง

 


คำตอบข้อ 11 ) ตอบ  (5) การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์, การสังเคราะห์แสง

เหตุผล

การหายใจ :: โดยทั่วไปปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
การสังเคราะห์ :: จะนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลด
การย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ :: มักเกิดกับจุลินทรีย์ที่มีการใช้ออกซิเจน เข้าไปสลายซากพืชและซากสัตว์เพื่อให้ได้พลังงานในการดำรงชีวิต
และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา จึงเป็นการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ

     ๐ สอดคล้องกับตัวเลือกข้อ 5 การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ (เพิ่ม), การสังเคราะห์แสง (ลด)

 

 

ข้อ 12) ในระบบนิเวศที่สมดุลแห่งหนึ่ง มีการถ่ายทอดพลังงานในรูปสายใยอาหาร ดังแผนภาพ (O-net 60)

onet60

ข้อใดอธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหารนี้ไม่ถูกต้อง
1.   หญ้าเป็นผู้ผลิต จะมีมวลชีวภาพมากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในระบบนิเวศ
2.   ถ้ามีการฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืช นกจะมีการสะสมสารเคมีมากกว่าหอยทาก
3.   ถ้ากระต่ายเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้จำนวนแมลงและหอยทากลดลงเพราะอาหารน้อยลง
4.   ถ้ากบและนกมีจำนวนลดลง แมลงและหอยทากจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพราะผู้ล่าลดลง
5.  พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย


คำตอบข้อ 12 ) ตอบ  (5)   พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย

เหตุผล

      ๐ ตัวเลือกที่ 5 ."พลังงานในโซ่อาหารจะถ่ายทอดไปที่เหยี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย" กล่าว ผิด เพราะ
การถ่ายทอดพลังงานไปตามห่วงโซ่อาหาร สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคเป็นลำดับสุดท้ายจะได้รับพลังงานลดลงไปเรื่อยๆตามลำดับขั้นการกินอาหาร (Trophic level)
เป็นไปตามกฎสิบเปอร์เซ็นต์ (Law of ten percent) กล่าวคือพลังงานศักย์ ที่สะสมในรูป เนื้อเยื่อของผู้บริโภคแต่ละลำดับขั้นจะ น้อยกว่า พลังงานศักย์ที่สะสมใน
เนื้อเยื่อผู้บริโภคลำดับขั้นต่ำ กว่าที่ถัด กันลงมาประมาณ 10 เท่า ดังตัวอย่างการถ่ายทอดพลังงานในแผนภาพ

onet60

 
ข้อ 13) พื้นที่ใดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ(O-net 60)

1.   พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
2.   พื้นที่มีการเผาทำลายป่า
3.   พื้นที่ป่าที่เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
4.   พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ
5.   พื้นที่ทำไร่ของชาวเขาที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง

 

       


คำตอบข้อ 13 ) ตอบ (4) พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ

เหตุผล

     ๐ "ตัวเลือกที่ 4 ที่พื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยลาวาจากภูเขาไฟ" เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถทำลายสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวณที่เคยมีอยู่เดิมได้
เนื่องจากลาวาจากภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็น หินอัคนีพุ (Extrusive rock) จึงจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ที่เริ่ม จากบริเวณที่ปราศจากสิ่งมีชีวิต
เรียกการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในลักษณะนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary succession)

 
 

ข้อ 14) ข้อมูลแสดงปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และจำนวนชนิดของไลเคน ที่พบในบริเวณที่มีระยะห่างจากตัวเมืองต่างกัน ดังตาราง (O-net 60)

Onet60
จากข้อมูล ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1.   คุณภาพอากาศใน พ.ศ. 2555 ดีกว่า 2550
2.   จำนวนชนิดของไลเคนจะเพิ่มขึ้นตามคุณภาพอากาศที่ลดลง
3.   ความหลากหลายของไลเคน แปรผกผันกับระยะห่างจากตัวเมือง
4.   ความหลากหลายของไลเคนแปรผกผันกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
5.   จำนวนชนิดของไลเคนในทุกระยะห่างจากตัวเมืองใน พ.ศ. 2555 มากกว่า พ.ศ.2550

 


คำตอบข้อ 14 ) ตอบ ( 4 )   ความหลากหลายของไลเคนแปรผกผันกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

เหตุผล

        ๐  จากข้อมูลในตาราง จะเห็นได้ว่า บริเวณที่ห่างจากตัวเมือง ยิ่งห่างมากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จะลดลง
ส่วนจำนวนชนิดของไลเคนยิ่งห่างจากตัวเมืองจำนวนไลเคนยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
        ๐ แต่เมื่อเปรียบเทียบ ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และจำนวนชนิดของไลเคน ในปี 2550 กับ ปี 2555 พบว่า ในปี 2555 ปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนจำนวนชนิดของไลเคนมีแนวโน้มลดลง
        ๐ จะเห็นได้ว่า ในปี 2555 เมื่อมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2555 มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้จำนวนชนิดของไลเคนลดลง
ทั้งบริเวณที่อยู่ใกล้และไกลจากตัวเมือง
        ๐ แสดงว่าจำนวนชนิดของไลเคน จะแปรผกผัน กับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

 

 
 

ข้อ 15) ตารางแสดงจำนวนแพลงก์ตอน และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ของแหล่งน้ำ 2 บริเวณ ทั้งก่อนและหลังการสร้างโรงงาน เป็นดังนี้(O-net 60)
onet60

จากข้อมูล หลังสร้างโรงงาน ข้อความใดกล่าวได้ถูกต้อง
1.   แหล่งน้ำบริเวณที่ 2 มีจำนวนแพลงก์ตอนมากขึ้น ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น
2.   แหล่งน้ำบริเวณที่ 1 มีค่า DO สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ำดีกว่า
3.   แหล่งน้ำบริเวณที่ 1 มีค่า BOD สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ำต่ำกว่า
4.   แหล่งน้ำบริเวณที่ 1 แพลงก์ตอนใช้ออกซิเจนมากกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีค่า BOD สูงกว่า
5.   แหล่งน้ำบริเวณที่ 1 มีจำนวนแพลงก์ตอนน้อยกว่าบริเวณที่ 2 แสดงว่า บริเวณที่ 1 ได้รับผลเสียจากโรงงานมากกว่า

    


คำตอบข้อ 15 ) ตอบ (2)  แหล่งน้ำบริเวณที่ 1 มีค่า DO สูงกว่าบริเวณที่ 2 บริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพน้ำดีกว่า

เหตุผล

     ๐ ค่า DO (dissolved Oxygen) เป็นค่าที่แสดงปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงแสดงว่าน้ำมีคุณภาพดี
     ๐ ค่า BOD (Biochemical oxygen demand) เป็นค่าที่แสดงถึง ปริมาณออกซิเจน ที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
ในน้ำภายใน 5 วัน ค่า BOD สูงแสดงว่าน้ำเน่าเสีย
     ๐ จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่า ทั้งในบริเวณที่ 1 และ บริเวณที่ 2 หลังจากสร้างโรงงาน พบว่าค่า DO ของบริเวณที่ 1 จะสูงกว่าบริเวณที่ 2
ดังนั้นน้ำในบริเวณที่ 1 จึงมีคุณภาพดีกว่าบริเวณที่ 2

 

 
 
 
 

<< ย้อนกลับ

[ ข้อ 1-5 ] / [ ข้อ 6-10 ] / [ ข้อ 11-15 ]

 

 

 

 

 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::