HOME

 

เนื้อเยื่อพืช

 

เนื้อเยื่อเจริญ

 

เนื้อเยื่อถาวร

 

๐ เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue)

นื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissues) เป็น กลุ่มของเซลล์ที่มีความสามารถแบ่งตัวแบบ ไมโทซีส(mitosis) เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ใหม

ลักษณะสำคัญ ของเนื้อเยื่อเจริญ
   1. เซลล์มีขนาดเล็ก
    2. ผนังเซลล์บาง
    3. มีนิวเคลียสขนาดใหญ่
    4. แวคิวโอล (vacuoles) ไม่มี หรือ มีขนาดเล็ก
    5. ไม่มี่ช่องว่างระหว่างเซลล์ เมื่อเซลล์อยูู่รวมกัน

    6. สามารถแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส (motosis)
    7. เนื้อเยื่อเจริญ จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรเพื่อทำหน้าที่เฉพาะต่อไป

 

ภาพที่ 1 ภาพเซลล์เจริญ (Meristematic cell)

ประเภทของเนื้อเยื่อเจริญ

เนื้อเยื่อเจริญจำแนก ตามตำเหน่งที่อยู่แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
     1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)
  ถ้าพบบริเวณปลายรากเรียก เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายราก (Apical root meristem) ทำหน้าที่แบ่งเซลล์ทำให้รากยาวขึ้น หากพบบริเวณปลายยอดเรียก เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (Apical shoot meristem) ทำหน้าแบ่งเซลล์ทำให้ลำต้นและกิ่งยาวขึ้น พบในพืชทุกชนิด การแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายจัดเป็นการเติบโตของพืชแบบปฐมภูมิ (Primary growth)

    1.2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem)    เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างข้อ ตรงบริเวณ ด้านบนของข้อ มีการแบ่งเซลล์ที่้ยาวนานกว่าเนื้อเยื่อบริเวณอื่นในปล้องเดียวกันทำให้ปล้องยาวขึ้น พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป เช่น หญ้า ข้าว ข้าวโพด อ้อย และไผ่ การเจริญของเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อเป็นการเพิ่มความยาว จัดเป็นการ เติบโตของพืชแบบปฐมภูมิ (Primary growth)

ภาพที่ 2 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
ภาพช้าย เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ภาพขวา เนื้อเยื่อเจริญปลายราก

ภาพที่ 3 บริเวณของเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ

ภาพที่ 4 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ

     1.3 เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) กลุ่มเซลล์ Meristem จะอยู่ในแนวขนานกับเส้นรอบวง มีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนออกทางด้านข้าง ทำให้รากและลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้น การเจริญเติบโตที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง จัดเป็นการเติบโตแบบทุติยภูมิ (Secondary growth) ส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicot plant) และในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocot plant) บางชนิด เช่น หมากผู้หมากเมีย จันทน์ผา เป็นต้น

      เนื่อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม (Cambium) แบ่งตามการทำหน้าที่ ได้ 2 ประเภท
      ๐ วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium):: พบบริเวณเนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular bundle) ที่มีการเจริญเติบโตขั้นปฐมภูมิ แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) กับ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem) มีหน้าที่แบ่งเซลล์ทำให้เกิดเนื้อเยื่อลำเลียงขั้นทุติยภูมิ

     ๐ คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) :: พบใต้เนื้อเยื่อผิว (Epidermis) ลงมา ทำหน้าที่แบ่งเซลลสร้างเซลลคอร์ก (Cork) เพื่อทดแทนเนื้อเยื่อผิวเดิม ของพืชในกลุ่มที่สามารถเจริญในขั้นทุติยภูมิ

ภาพที่ 6 คอร์กแคมเบียม

เนื้อเยื่อเจริญจำแนกตามการเกิดและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ แบ่งเป็น
1. Promeristem(โพรเมอริสเต็ม) :: เป็นเนื้อเยื่อเจริญเกิดขึ้นใหม่ ๆ ประกอบขึ้น ด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก และขนาดเท่ากันหมดี ไม่มีแวคิวโอล มีนิวเคลียสใหญ่ และไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ พบมากตามปลายสุดของราก ปลายยอด กิ่งและ ตา

2. Primary meristem (ไพรมารีสเต็ม) :: เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก เนื้อเยื่อเจริญกลุ่ม Promeristem แต่การเจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่เป็นเนื้อเยื่อถาวร พบในบริเวณที่ต่ำจาก Promeristem ลงมากรณีปลายยอด และ ในรากจะพบในบริเวณการยืดยาวของเซลล์ (Region of cell elongation)  เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้มีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะต่างๆจนกลายเป็นเนื้อเยื่อถาวร
          Primary meristem ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 บริเวณด้วยกันนับจากนอกสุดเข้าไปข้างใน
          2.1 Protoderm เจริญเติบโตมาจาก Promeristem แล้วจะแบ่งตัว เจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงต่อไป เป็นเนื้อเยื่อถาวรบริเวณผิว เรียกว่าเอพิเดอร์มิส( Epidermis) มีหน้าที่ป้องกันเยื่อที่อยู่ถัดเข้าไปข้างใน
          2.2 Ground meristemเจริญเติบโตมาจาก Promeristem มีการ เจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงต่อไป เป็นเนื้อเยื่อถาวรในบริเวณที่เรียกว่า Cortex ซึ่งอยู่ถัดจาก epidermis เข้าไปข้างใน และยังเจริญไปเป็น Pith และ Pith ray (ในลำต้น) อีกด้วย Cortex สามารถ เป็นแหล่งสะสมอาหาร และขณะที่ยังอ่อนอยู่ก็ทำหน้าที่ เป็นแหล่งสร้างอาหารและป้องกันโครงสร้างภายในด้วย ส่วน Pith และ Pith ray ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเกลือแร่ และอาหารไปทางด้านข้างอีกด้วย
          2.3 Procambiumเจริญมาจาก Promeristem ที่ เจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรในบริเวณชั้นในซึ่งเป็นบริเวณของมัดท่อลำเลียง (Vascular Tissue) ทำหน้าที่เป็นท่อในการลำเลียงน้ำ เกลือแร่ (Xylem) และลำเลียงอาหาร (Phloem)

 

ภาพที่ 5 ภาพตำแหน่งของ Protoderm , Ground meristem ,Procambium



3.Secondary meristem (เชกันดารี เมอริสเต็ม) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดจากการแปรสภาพของเนื้อเยื่อถาวรบางชนิดและบางบริเวณ คล้ายกับกลุ่มของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง มีหน้าที่แบ่งเซลล์ออกทางด้านข้าง เพื่อขยายขนาดของรากและลำต้น เป็นการเจริญเติบโตขั้นทุติยภูมิ

         Secondary meristem มี 2 ประเภท คือ
          3.1 Vascular Cambium ทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อถาวรพวก Secondary vascular tissue
          3.2 Cork cambium แบ่งเซลล์ให้เซลล์คอร์ก เพื่อทดแทนเนื้อเยื่อผิวเดิมในการเจริญเติบโตขั้นทุติยภูมิ

 

ภาพที่ 7 คอร์กแคมเบียม และ วาสคิวลาร์แคมเบียม ของภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

 

 

ครูผู้สอน ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ