HOME 

 

เนื้อเยื่อพืช

 

เนื้อเยื่อเจริญ

 

เนื้อเยื่อถาวร


 

เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)

เป็นเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยเซลล์ที่

  • เจริญเติบโตเต็มที่

  • รูปร่างคงที่

  • ทำหน้าที่ต่างๆตามลักษณะโครงสร้างของเซลล์ มีหน้าที่เฉพาะในแต่ละบริเวณ

  • ส่วนใหญ่ไม่สามารถแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนได้

  • บางชนิดเซลล์ตายแต่ยังทำงานได้ และยังเป็นองค์ประกอบของพืช

เนื้อเยื่อถาวรแบ่งตามหน้าที่ แบ่งได้ 3 ระบบคือ
1.ระบบเนื้อเยื่อผิว (Dermal tissue system) แบ่งเป็น
    ๐ เนื้อเยื่อผิวในพืชที่มีการเจริญขั้นปฐมภูมิ จะมีเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส (Epidermis) ที่ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้เนื้อเยื่อด้านใน

    ๐ เนื้อเยื่อผิวในพืชที่มีการเจริญขั้นทุติยภูมิ จะมีเพอริเดิร์ม (Periderm) เจริญขึ้นมาแทนเอพิเดอร์มิสของรากและลำต้น
เพอริเดิร์มประกอบด้วย 3 ชั้นย่อย
     - เฟลเลม(Phellem) ชั้นคอร์ก ,
     - เฟลโลเจน (Phellogen) ชั้นคอร์กแคมเบียม,
     - เฟลโลเดิร์ม (Phelloderm) ชั้นพาเรงคิมา

ภาพ การพัฒนาของระบบเนื้อเยื่อผิวเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส

2.ระบบเนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue system หรือ Fundamental tissue system)
     เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของโครงสร้างพืช ที่ไม่ใช่เนื่อเยื่อผิว และบริเวณของเนื้อเยื่อลำเลียง ทำหน้าที่อย่างหลากหลายได้แก่ เนื้อเยื่อ พาเรงคิมา ,คอลเลงคิมา, สเกลอเรงคิมา ,
เอนโดเดอร์มิส

ภาพ แสดงระบบเนื้อเยื่อผิว เนื้อเยื่อพื้น และเนื้อเยื่อลำเลียง ของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

3. ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular tissue system)
     ประกอบด้วยเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)

ภาพบริเวณเนื้อเยื่อลำเลียงของตำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

 

เนื้อเยื่อถาวรแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อ แบ่งได้ 2 ประเภท

       1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
       2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue)

1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue):
         เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดจากเซลล์ถาวรชนิดเดียวกันมาอยู่ร่วมกันและทำหน้าที่ร่วมกันมีหลายชนิด ได้แก่

               ๐  เอพิเดอร์มิส(Epidermis)

               ๐  พาเรงคิมา(Parenchyma)

               ๐ คอลเลงคิมา(Collenchyma)

              ๐ สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma)

              ๐ เอนโดเดอร์มิส(Endodermis)

              ๐ คอร์ก (Cork)

 

2. เนื้อเยื่อถาวรเซิงซ้อน (Complex permanent tissue)

     เกิดจากเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่ เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular bundle) ประกอบด้วย

             ๐ เนื้อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem)

             ๐ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)

 

===> [ คลิกเพื่อเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ]


ครูผู้สอน ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา
จังหวัดอำนาจเจริญร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ