หน้าหลัก

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การเคลื่อนที่ของสัตว์

แมงกะพรุน/หมึก/ปลาดาว
ไส้เดือนดิน/หนอนตัวกลม/พลานาเรีย
แมลง
สัตว์มีกระดูกสันหลัง


การเคลื่อนที่ของคน

กระดูก
ข้อต่อและเอ็น
กล้ามเนื้อ

 
 

 

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนไหว และ เคลื่อนที่แตกต่างกัน โดยอาศัยโครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน เช่น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอาศัยโครงร่างค้ำจุนของเซลล์ (Cytoskeleton) ช่วยในการเคลื่อนที่ ส่วนคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังเคลื่อนที่โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว:

อาศัยโครงร่างค้ำจุนภายในเซลล์เพื่อให้เซลล์คงรูปร่าง เรียก โครงสร้างเหล่านี้ว่า  ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)::  คือ โครงสร้างภายในเซลล์ ประกอบด้วยเส้นใยที่ประสานกันเป็นร่างแห แทรกตัวอยู่ภายใน cytoplasm ทำหน้าที่เป็นโครงร่างภายในเพื่อรักษารูปทรงหรือเปลี่ยนรูปทรง และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวภายใน cytoplasm และการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด

ภาพ โครงสร้างของไซโทสเกเลตอนภายในเซลล์

ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)  ประกอบด้วย  

      1. ไมโครทูบูล (Microtubule) เป็นท่อตรงและกลวงประกอบด้วย tubulin protein ชนิด alpha-tubulin 
           และ Bata-tubulin ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 nm
      2.  ไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament)  เป็นเส้นใยทึบ 2 สายพันกันเป็นเกลียว ประกอบด้วย Actin Protein
      3.  ประกอบด้วยมัดของหน่วยย่อยโปรตีนที่พันกันเป็นเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12  nm            
           ประกอบด้วยโปรตีนหลายชนิด แล้วแต่ชนิดของเซลล์  เช่น keratin

ภาพเปรียบเทียบ ไซโทสเกเลตอนทั้ง 4 ชนิด

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่โดยอาศัยเท้าเทียม (pseudopodium) ได้แก่

อะมีบา:: เคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของไซโทรพลาสซึม หรือเท้าเทียม (Pseudopodium(ชูโดโพเดียม)โดยการที่ไซโทรพลาสซึมจะไหลได้นั้นเกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
         1.   เอ็กโทพลาสซึม (Ectoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมที่อยู่ข้างนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว
                เรียกว่า เจล (gel)
         2.   เอ็นโดพลาสซึม (Endoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมทีอยู่ด้านในมีลักษณะค่อนข้างเหลว
               เรียกว่า  โซล (sol)
         3.  ไมโครฟิลาเมนท์

การเกิดเท้าเทียม เกิดจาก  การแยกตัวและรวมตัวของโปรตีนแอกติน ในไมโครฟิลาเมนท์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไซโทรพลาซึม ดังนี้

  1. ทำให้เอนโดพลาสซึมไหลไปในทิศทางที่อะมีบาจะเคลื่อนที่แล้วปรับสภาพเป็นเอ็กโทพลาสซึม
  2. ส่วนเอ็กโทรพลาสซึมที่อยู่ด้านท้ายจะกลายเป็น เอนโดพลาซึม เป็นของเหลวไหลมาแทนที่เอนโดพลาสซึมที่เคลื่อนไปแล้ว

ภาพ การไหลของไซโทรพลาซึมของอะมีบา

 

ชมวิดีโอการเคลื่อนที่ของอะมีบา

 

สิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่โดยอาศัยซิเลียและแฟกเจลลัม

ได้แก่ยูกลีนา เคลื่อนที่โดยอาศัยการโบกพัดของแฟลเจลลัม (Flagellum) และ พารามีเชียม เคลื่อนที่โดยอาศัยการโบกพัดซิเลีย (Cilia)

โครงสร้างของซิเลีย และ แฟกเจลลัม

     พบว่าภายในค้ำจุนด้วยไมโครทูบูล เรียงตัวเป็นวง 9 กลุ่ม กลุ่มละ 2 หลอด ตรงแกนกลางมีอีก 2 หลอดโดยไมโครทูบูลที่เรียงอยู่ตรงกลางจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบ ส่วนไมโครทูบูลที่เรียงเป็นวงอยู่โดยรอบจะมีโปรตีน ไดนีน (Dynein) เป็นเสมือนแขนที่เกาะกับไมโครทูบูล เรียกว่า ไดนีนอาร์ม (Dynein arm) ซึ่งโครงร่างค้ำจุ้นเหล่านี้ช่วยให้ซิเลีย และแฟลเจลลัม โค้งงอและสามารถโบกพัดได้

ภาพ ภาคตัดขวางของไมโครทูบูล

 

ภาพ การทำงานของโปรตีนไดนีนทำให้ไมโครทูบูลมีการเคลื่อนไหว ภาพ การโบกพัดของซิเลีย และแฟกเจลลัม

 

บริเวณโคนของแฟลเจลลัมและซิเลียจะยึดติดโดยครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า เบซัลบอดี
(Basal body) หรือไคนีโทโซม (Kinetosome) ซึ่งถ้าลองตัดส่วนนี้ออกพบว่าซิเลีย และแฟคเจลลัมจะเคลื่อนไหวไม่ได้ โดยโครงสร้างภายในของเบชัลบอดีค้ำจุนด้วยไมโครทูบูล เรียงตัว 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 หลอด

ภาพ เปรียบเทียบภาคตัดขวางของแฟกเจลลัม กับ เบซัลบอดี

 

ชมวิดีโอการเคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย และ แฟกเจลลัม

 

   

 

รวบรวมเรียบเรียงข้อมูลโดย ครูนันทนา สำเภา
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ