หน้าหลัก
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การเคลื่อนที่ของสัตว์

แมงกะพรุน /หมึก /ปลาดาว
พลานาเรีย
ไส้เดือนดิน/หนอนตัวกลม
แมลง
 สัตว์มีกระดูกสันหลัง

การเคลื่อนที่ของคน

 กระดูก
 ข้อต่อ และ เอ็น
 กล้ามเนื้อ

 
 

 

การเคลื่อนที่ของสัตว์

 

แมลง

          การเคลื่อนไหวของแมลงอาศัยการทำงานของข้อต่อ (Join) และ กล้ามเนื้อ (Muscle) การศึกษาการเคลื่อนไหวของแมลง
จะศึกษาพิจารณา 2 ลักษณะคือ

          1. การเหยียด และ งออวัยวะ
          2. การบินของแมลง

          1. การเหยียดและงออวัยวะ จะเกิดจากการทำงานร่วมกันของข้อต่อ และ กล้ามเนื้อ ในลักษณะการทำงานในสภาวะตรงกันข้าม (Antagonism) ซึ่งการทำงานในลักษณะดังกล่าวอาศัยการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (Flexor muscle) กับ กล้ามเนื้อ เอ็กเทนเซอร์ (Extensor)
          - เมื่อ กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์หดตัว กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์จะคลายตัวทำใหอวัยวะงอเข้า
          - ในขณะเดียวกันเมื่อกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์คลายตัว กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์จะหดตัวทำให้วัยวะเหยียดออก

ภาพ เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของแมลง
ภาพ A เป็นการเคลื่อนไหวขณะที่อวัยวะงอ
ภาพ B เป็นการเคลื่อนไหวขณะที่อวัยวะเหยียดออก

 

 

ภาพ การทำงานของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ กับกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ ขณะแมลงงออวัยวะซึ่งกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์จะหดตัวส่วนกล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์จะคลายตัว

 

ภาพ การเคลื่อนไหวของตั๊กแตนที่อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อในสภาวะตรงกันข้าม

 

          
           2. การบินของแมลง

           การบินของแมลง เกิดจากการทำงานของกล้าม 2 ชุดคือกล้ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอก (Vertical muscle) :: ซึ่งจะวางตัวตั้งฉากกับผิวโลกหรือ เป็นกล้ามเนื้อทีวางตัวในแนวขวาง และ กล้ามเนื้อตามยาวที่ยึดปีก (Horizontal muscle) ::ซึ่งจะวางตัวขนานไปกับผิวโลก

ภาพ ตำแหน่งของกล้ามเนื่อยึดเปลือกหุ้มส่วนอก (Vertical muscle) กับ กล้ามเนื้อตามยาวที่ยึดปีก (Horizontal muscle)

          การบินของแมลง อาศัยการขยับปีกขึ้นลง อย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ ดังนั้นส่วนสำคัญในการเคลื่อนที่โดยใช้ปีกที่นักเรียนต้องทำความเข้าใจคือการขยับปีกขึ้น และ ลง

         กลไกการขยับปีกขึ้น ::

         เกิดจากกล้ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอก (Vertical muscle) หดตัว ส่วนกล้ามเนื้อยึดปีกซึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามยาว(Horizontal muscle) จะคลายตัว ทำให้ความสูงของเปลือกหุ้ม อกแคบลง ดันให้ปีกยกตัวสูงขึ้น

          กลไกการขยับปีกลง ::

           เกิดจากกล้ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอก (Vertical muscle) คลายตัว ส่วนกล้ามเนื้อยึดปีกซึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามยาว(Horizontal muscle) จะหดตัว ทำให้เปลือกหุ้ม อกสูงขึ้น ลงกดให้ปีกลดต่ำลง

ภาพ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเปลือกหุ้มอกขณะแมลงขยับปีกขึ้นลง

 

 

   

 

จัดทำรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลโดย ครูนันทนา สำเภา
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ