BEHAVIOR
 
 

Change language :: Thai / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท

การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี

เฉลยคำถามท้ายบท


 

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ ( Imprinting )

          เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าในช่วงแรกของชีวิตด้วยการจดจำสิ่งเร้าต่างๆได้ เช่น วัตถุที่ส่งเสียง และ เคลื่อนที่ได้ โดยสิ่งมีชีวิตแรกเกิดจะจดจำวัตถุนั้นไว้ และตอบสนองโดยการเดินตาม วัตถุนั้น ซึ่งเป็นการดีต่อสิ่งมีชีวิตแรกเกิดเหล่านั้น ซึ่งในทางธรรมชาติแล้วสิ่งที่ลูกสัตว์แรกเกิดเห็นเป็นอันดับแรกจะเป็น แม่ หรือเป็นสัตว์ที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมและเดินตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เคลื่อนที่ได้ตั้งแต่แรกเกิดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต การจดจำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยไม่ให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์

        เดิมมีความเชื่อว่า สัตว์แต่ละชนิดจะสามารถจดจำสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกันได้ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้หรือ จัดเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด แต่จากการศึกษาและการทดลองของ ดร.คอนราด ลอเรนซ์( Dr. Konrad Lorenz )
ในปี ค.ศ. 1935 เป็นเครื่องชี้ชัดว่า การที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถจดจำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันได้
นั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ คือ ต้องอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตก่อนจึงจะจดจำได้

          การทดลองของ ดร.คอนราด ลอเรนซ์( Dr. Konrad Lorenz) นักสัตววิทยาชาวAustrian ซึ่งได้เฝ้าสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของสัตว์จำพวกนก และได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของห่านเกรย์เลค (Greylag Goose) ตั้งแต่ปี ค.ศ.  1935–38 เขาเรียกปฏิบัติการครั้งนั้นว่า goose summers สาเหตุสำคัญที่ ดร.ลอเรนซ์ เลือกศึกษาห่านเกรย์เลคเพราะ ห่านชนิดนี้ มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่ เป็นแบบครอบครัว (ดูวิดีโอครอบครัวห่าน)

          จากการสังเกตพฤติกรรมของห่านเขาพบว่า การที่ลูกห่านได้พบเห็นแม่ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่สามารถส่งเสียงและเคลื่อนที่ได้ เมื่อมันออกมาจากไข่ ทำให้เกิดการจดจำรูปร่างรูปทรงของวัตถุนั้น และการฝังใจในสิ่งที่เห็นแรกเกิดนั้นว่าเป็นแม่ หรือเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน จึงเดินตาม ทำตามพฤติกรรมของสิ่งนั้น ซึ่งเป็นกลไก ที่ทำให้ลูกห่านสามารถจดจำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันได้ เพราะตามธรรมชาติแล้วแม่ห่านจะเป็นผู้ฟักไข่และได้เห็นลูกห่านเป็นตัวแรก จากการศึกษาของ ดร.ลอเรนซ์ บ่งชี้ให้เห็นว่าการจดจำแม่ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันได้ ของห่านเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ต้องอาศัยประสบการณ์ก่อนจึงจะจดจำได้

          ดร.ลอเรนซ์ ทดลองโดย ให้แม่ห่านฟักไข่จนเมื่อใกล้ถึงเวลาที่ลูกห่านจะออกมาจากไข่ เขาได้นำแม่ห่านออกไป จากบริเวณนั้น ทำให้ลูกห่าน ได้เห็น ดร.ลอเรนซ์ เป็นสิ่งแรกจึงฝังใจว่า ดร.ลอเรน์ซ์ เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือเป็น แม่ของพวกมันจึงเดินตามและ พยายามเลียนแบบพฤติกรรมของ ดร.ลอเรนซ์

          จากการศึกษาพบว่าช่วงเวลาที่ลูกห่านจะจดจำและยอมรับแมาบุญธรรมต่างสปีชีส์ จะมีช่วงเวลาจำกัด หรือที่เรียกว่า ระยะวิกฤต (Critical peroid) ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่แสดงพฤติกรรมดังกล่าว ในแต่ละชนิดจะมีช่วงเวลาวิกฤติที่แตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญหากเลย เวลานี้ไปแล้วสัตว์จะไม่แสดงพฤติกรรมแม้ว่าจะพยายามกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าใดๆก็ตาม ตัวอย่างเช่น
ลูกห่านจะมีระยะฝังใจอยู่ที่ 36  ชั่วโมงแรกหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ 
ถ้าพ้นระยะนี้ไปแล้วจะไม่เกิดการเรียนรู้แบบฝังใจเลย  แม้สิ่งเร้านั้นจะเป็นแม่มันเองก็ตาม

           ประโยชน์ของพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ จะช่วยให้สัตว์ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ และ ช่วยให้เกิดการผสมพันธุ์ในสปีชีส์เดียวกัน ไม่ผสมพันธุ์ต่างสปีชีส์

  

ดร.คอนราด ลอเรนซ์( Dr. Konrad Lorenz)
(born Nov. 7, 1903, Vienna, Austria—died Feb. 27, 1989, Altenburg),

         

ลูกห่านตามธรรมชาติ เมื่อฟักออกมาจะเห็น แม่ห่านเป็นอันดับแรกทำให้จดจำได้ จึงเดินตาม ละว่ายน้ำตามแม่ห่าน

 

ลูกห่านที่เกิดพฤติกรรมการฝังใจ และเรียนรู้ว่าดร.คอนราด ลอเรนซ์ คือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันกับตน

 

ลูกห่านจะเลียนแบบพฤติกรรมและท่าทางของสิ่งมีชีวิตที่คิดว่า
เป็นชนิดเดียวกัน

         

 

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ