BEHAVIOR
 
 

เปลี่ยนภาษา ::ไทย / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท


การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี

เฉลยคำถามท้ายบท


 

ประเภทของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด

          1. โอเรียนเตชัน (Orientation)
          2. รีเฟล็กซ์ (Reflex)
          3. รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflex)

        1. โอเรียนเตชัน (Orientation)

          เป็นพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ ทำให้เกิดการวางตัวที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ได้แก่ การว่ายน้ำของปลาตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ทำให้ศัตรูระดับต่ำกว่ามองไม่เห็น กิ้งก่าพองตัวขึ้นตั้งฉากกับดวงอาทิตย์เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวเพื่อให้ได้รับความร้อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่ออุณหภูมิของกิ่งก่าในเขตหนาว

          จากภาพตำแหน่งการว่ายน้ำของปลา ไม่ว่าจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางใด จะรักษาตำแหน่งให้ร่างกาย ที่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์เสมอ (Dorsal light reaction )ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นตัวปลา
เป็นการหลบหลีกศัตรูได้อีกวิธีหนึ่ง

ตัวอย่างของพฤติกรรมแบบโอเรียนเตชัน แบบอื่น
      
           ไคนีซีส (Kinesis)
:: เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโอเรียนเตชัน มักพบในโพรโทซัว หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่ระบบประสาทยังเจริญไม่ดี จึงตอบสนองโดยเคลื่อนเข้าหา หรือออกจากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ๆเท่านั้น โดยการเคลื่อนที่แต่ละครั้งมีทิศทางไม่แน่นอน หรือไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า

           จากภาพการตอบสนองต่ออุณหภูมิของพารามีเซียม แสดงให้เห็น ถึงการเคลื่อนตัวหนีจาก บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ของพารามีเซียม ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวหนีจากอุณหภูมิสูง โดยมีทิศทางไม่แน่นอน หรือมีทิศไม่สัมพันธ์ กับ สิ่งเร้าซึ่ง หากเป็นการเคลื่อนที่อย่างมีทิศทางพารามีเซียมจะถอยออกมา แล้วตรงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำโดยไม่เฉไส ไปทิศทางอื่น

 


ภาพ แมลงสาบ
          การที่แมลงสาบมีพฤติกรรมชอบที่แคบ หรือมีสิ่่งสัมผัสร่างกายจึงจะหยุดนิ่ง เมื่อปล่อยแมลงสาบในที่โล่ง แมลงสาบจะวิ่งวุ่นไปมา จนกว่าจะชนเข้ากับอะไรสักอย่างจึงจะหยุดนิ่ง พฤติกรรมที่แมลงสาบวิ่งหาวัตถุ เป็นการวิ่งแบบสุ่ม โดยไม่ได้ตรงไปยังวัตถุโดยตรง

 

ภาพ Sow bug หรือเหาไม้ ภาพ การเคลื่อนที่เข้าหาความชื้นของตัว Sow bug
   
        ตัว Sow bug หรือเหาไม้ (Woodlouse) จะเคลื่อนที่มากในที่แห้งแต่จะเคลื่อนที่ลดลงในที่ชื้น จะภาพแสดงการเคลื่อนที่ของเหาไม้ ในการหาที่ชื้น พบว่าเคลื่อนที่อย่าง มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า
เช่น เดียวกันกับ พฤติกรรมของกุ้งเมื่ออยู่ในที่แห้งจะดีดตัวและเต้นไปมาอย่างไม่มีทิศทาง แต่จะหยุดนิ่งเมื่ออยู่ในที่ชื้น

 

       แทกซีส (Taxis)::    เป็นพฤติกรรมการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่ง เร้าอย่างมีทิศทางที่แน่นอน พฤติกรรมแบบนี้มักพบในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกที่มีประสิทธิภาพ ดีพอจะสามารถรับรู้และเปรียบเทียบสิ่งเร้าได้ ตัวอย่างพฤติกรรม เช่น

๐ การเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่างของพลานาเรีย
๐ การเคลื่อนที่ของหนอนแมลงวันหนีแสง
๐ การเคลื่อนที่ของแมลงเม่าเข้าหาแสง
๐ การเคลื่อนที่ของค้างคาวเข้าหาแหล่งอาหารตามเสียงสะท้อน
๐ การบินเข้าหาผลไม้สุกของแมลงหวี่
๐ จิ้งหรีดตัวเมียเข้าหาจิ้งหรีดตัวผู้ชนิดเดียวกัน หลังจากได้ยินเสียงกรีดปีกของจิ้งหรีดตัวผู้


ภาพการเข้าแสงของผีเสื้อกลางคืน ภาพ การเข้าหาแสงของพลานาเรีย

         จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนเข้าหาแสงของผีเสื้อกลางคืน กับการเคลื่อนที่ของพลานาเรียเพื่อเข้าหาแสง มีเป้าหมายและมีทิศทางที่แน่นอน
 

           ค้างคาวเปล่งเสียงความถี่สูง 200 ครั้งต่อวินาที เสียงของค้างคาวเป็นคลื่นเสียง ที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่มนุษย์เราจะได้ยิน คลื่นเสียงความถี่สูงนี้จะไปกระทบตัวแมลงแล้วสะท้อนกลับมา
ทำให้ค้างคาวรู้ว่าแมลงอยู่ที่ไหนและเป็นแมลงชนิดใด จากนั้นค้างคาวก็จะตามไล่ล่า และจับแมลงกินซึ่งเป็นการเคลื่อนเข้าหาเหยื่ออย่างมีทิศทางที่แน่นอน

          จิ้งหรีดเป็น แมลงปีกตรงปีกคู่บนปีกหนึ่งมีขอบหนา หยักแหลมเหมือนฟันเลื่อย ซึ่งเมื่อขยับให้สีไปบนส่วนที่ บางแต่แข็งคมของอีกปีกหนึ่งก็จะเกิดเป็นเสียงเพลงดังกังวาน
ซึ่งตัวผู้เท่านั้นที่จะขยับปีกให้เกิดเสียง เพื่อเรียกตัวเมียเข้าไปผสมพันธุ์  ส่วนจิ้งหรีดตัวเมียไม่ทำเสียง  จิ้งหรีดมีหูฟังอยู่ที่ขาหน้าใต้หัวเข่า ชอบออกหากินตอนกลางคืน กลางวันซ่อนตัวนอน ซึ่งการเคลื่อนที่ของจิ้งหรีดที่เข้าหาตัวผู้เมื่อได้ยินเสียง มีทิศที่แน่นอนจึงจัดเป็นแทกซีสอีกแบบหนึ่ง
          การสังเกต จิ้งหรีดตัวผู้ กับตัวเมีย จิ้งหรีดตัวผู้จะมีลำตัวและปีกสีดำเข้ม และเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าจิ้งหรีดตัวเมียเล็กน้อย ส่วนจิ้งหรีดตัวเมียจะมีปีกสีน้ำตาล
ภาพ จิ้งหรีด  



     

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ