BEHAVIOR
 
 

Change language :: Thai / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท


การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี

เฉลยคำถามท้ายบท


 

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning )

         เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนามาจาก การลองผิดลองถูก โดยพฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผลนี้สัตว์จะตอบโต้กับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ ในครั้งแรกได้อย่างถูกต้อง โดยเอาประสบการณ์หลายๆอย่างเข้ามาแก้ปัญหาได้ ซึ่งต่างกับพฤติกรรมการลองผิดลองถูกที่ต้องเจอกับ
สถานการณ์เดิมๆหลายครั้งจึงจะสามารถเลือกได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด พฤติกรรมการใช้เหตุผลจะพบได้ในสัตว์ที่มีสมองส่วนซีรีบรัมเจริญดี เพราะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับความคิดความจำและ เชาว์ปัญญา พฤติกรรมแบบนี้จึงพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น

Wolfgang Kohler, 1887-1967

 

          เช่น การทดลองของโคเลอร์ ( Wolfgang Kohler ) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งได้ทดลองเกี่ยวกับการ
แก้ปัญหาของสัตว์ เมื่อได้เผชิญกับปัญหาต่างๆโดยศึกษาการแก้ปัญหาของลิงซิมแปนซี
โดยการนำลิงใส่ไว้ในกรงที่มีกล่องไม้ 2 กล่องวางอยู่บนพื้นกรงและมีกล้วยผูกด้วยเชือกแขวนอยู่ด้านบนของกรงในระยะที่ลิงไม่อาจเอื้อมถึงได้ เมื่อลิงเข้าไปอยู่ในกรงแล้วลิงพยายามทำอยู่หลายวิธีการ เช่น กระโดด ปีนกรง ยืนบนกล่องไม้กล่องเดียวแล้วเอื้อมมือเพื่อจะเอากล้วยมากินให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จ
และในที่สุดลิงก็หยุดมองกล่องไม้ 2 กล่อง มองกล้วยแล้วก็เอากล่อง 2 กล่องมาวางซ้อนกันแล้วปีนขึ้นไปบนกล่องไม้ เอื้อมมือไปหยิบกล้วยมากินได้

การแก้ปัญหาของลิงในห้องทดลอง

 

การแก้ไขปัญหาของลิงในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน


         โคเลอร์ ยังได้ทดลองให้ลิงได้แก้ไขปัญหาเมื่อเผชิญกับสถานการณ์อื่น เช่น โคลเลอร์ได้ทดลองโดยการขังลิงชิมแปนซี ตัวหนึ่งไว้ในกรงที่ใหญ่พอที่ลิงจะอยู่ได้ภายในกรงมีไม้หลายท่อน มีลักษณะสั้นยาวต่างกันวางอยู่ นอกกรมเขาได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่งเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้  
การใช้ท่อน ไม้เหล่านั้น บางท่อนก็สั้นเกินไปสอยกล้วยไม่ถึงเหมือนกัน มีบางท่อนยาวพอที่จะสอยได้ ในขั้นแรกลิงขิมแปนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วยแต่ไม่สำเร็จแม้ว่าจะได้ ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานานมันก็หันไปมองรอบรอบกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง ปีนป่ายและทำทุกอย่างที่จะช่วยให้ได้กินกล้วยแต่เมื่อไม่ได้ผลไม่สามารถแก้ปัญหาได้มันหันมาลองจับไม้เล่น
และใช้ไม้นั้น สอยกล้วยแต่เมื่อไม่ได้ผล ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ มันหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่น
และใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ เลยในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้

ลิงซิมแปนซีสามารถเลือกใช้ไม้เขี่ยอาหารที่อยู่ไกลมารับประทานได้

 

          จากการทดลองเหล่านี้จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาของลิงเป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหา
โดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความ สัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กับ กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรง
และสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้

          ลิงซิมแปนซีสามารถแสดงพฤติกรรมการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา หรือเผชิญกับสถานการณ์
ใหม่ ที่ไม่คุ้นเคยอื่นๆได้ เช่น เมื่อลิงซิมแปนซีพยายามที่จะกินปลวกในจอมปลวกมันพยายามเรียนรู้และหาวิธี จนสามารถกินปลวกได้โดยใช้ไม้ทิ่มเข้าไปในจอมปลวก จนเกิดรู จากนั้นมันจะรอจนปลวกมาจับที่ไม้ เมื่อดึงไม้ออกก็จะมีปลวกติดขึ้นมาด้วยคล้ายกับการตกปลาของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อใช้เหตุผลลิงจะสามารถเลือกหรือหาเครื่องมือง่ายๆมาช่วยแก้ปัญหาได้

   


         การเรียนรู้แบบมีเหตุผลเป็นการมองเห็นรับรู้ถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์แล้วใช้ความรู้เดิมและ
ประสบการณ์มาแก้ปัญหา โดยปัญหาและสถานการณ์จะมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกก็จะสามารถนำวิธีการนั้นมาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่ หรือเมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์ใหม่ ได้

          การทดลองของโคเลอร์ ในส่วนของการศึกษาพฤติกรรมทางจิตวิทยา (Psychological approach) นำไปสู่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory) ซึ่งในบทเรียนชีววิทยา จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในส่วนนี้

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ