เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2549 สอบกุมภาพันธ์ 2550

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2549 สอบกุมภาพันธ์ 2550

ข้อ 1 (4)

ข้อ 2 (1)

ข้อ 3 (4)

ข้อ 4 (4)

ข้อ 5 (2)

ข้อ 6 (1)

ข้อ 7 (4)

ข้อ 8 (2)

ข้อ 9 (2)

ข้อ 10 (3)

ข้อ 11 (2)

ข้อ 12 (4)

ข้อ 13 (2)

ข้อ 14 (4)

 

ข้อ 15 (1)

ข้อ 16 (4)

ข้อ 17 (2)

ข้อ 18 (2)

ข้อ 19 (1)

ข้อ 20 (1)

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 
ข้อ 1) เมื่อนำเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสระน้ำทั่วไปมาตรวจหาปริมาณสารกำจัดแมลงชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ พบว่า มีการสะสมของสารนี้สูงสุดในปลาซ่อนเสมอ แสดงว่าปลาซ่อนเป็น (O-net 49)
  1. ผู้บริโภคพืชลำดับแรกของโซ่อาหาร
  2. ผู้บริโภคทั้งสัตว์และพืช
  3. ผู้บริโภคสัตว์ลำดับแรกของโซ่อาหาร
  4. ผู้บริโภคสัตว์ลำดับสุดท้ายของโซ่อาหาร
 

คำตอบข้อ 1 ) ตอบ 4

เหตุผล

       • การถ่ายทอดพลังงานยิ่งเป็นผู้บริโภคระดับสูงยิ่งได้รับพลังงานจากผู้ผลิตลดลง ตามกฎสิบเปอร์เซ็นต์ (Ten percent law)
       • แต่การถ่ายทอดสารพิษยิ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสูงยิ่งมีการสะสมสารพิษเพิ่มขึ้น

 

 

 
ข้อ 2) แก๊สในข้อใดจัดเป็นแก๊สเรือนกระจก (O-net 49)

       1.   คาร์บอนไดออกไซด์   คลอโรฟลูออโรคาร์บอน   มีเทน
       2.   มีเทน                         คาร์บอนไดออกไซด์         ออกไซด์ของไนโตรเจน
       3.  ไนโตรเจน                   ออกซิเจน                          คาร์บอนไดออกไซด์
       4.   มีเทน                          ออกไซด์ของไนโตรเจน    คลอโรฟลูออโรคาร์บอน   

 

คำตอบข้อ 2 ) ตอบ 1

เหตุผล

•แก๊สที่มีผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่สำคัญมี 4 ชนิดคือ
       – ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
       – คลอโรฟลูออโรคาร์บอน  (Chlorofluorocarbon) CFC
       – มีเทน (CH4)
       – ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

ออกไซด์ของไนโตรเจน คือไนโตรเจนรวมตัวกับออกซิเจนเช่น

       - ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
       -ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
       -ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO)

เฉพาะไนตรัสออกไซด์ที่จัดเป็นก๊าซเรือนกระจก ส่วนก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) ไม่เป็นก๊าซเรือนกระจก

ดังนั้นข้อที่ถูกต้องที่สุดคือข้อ 1

 
ข้อ 3) โครงสร้างของเซลล์ 4 ชนิดในน้ำเป็นดังนี้ (O-net 49)

ชนิดสิ่งมีชีวิต

โครงสร้างของเซลล์

ผนังเซลล์

แวคิวโอล

คลอโรฟิลล์

นิวเคลียส

/

-

/

-

-

/

-

/

-

/

/

/

/

-

-

-

 

สิ่งมีชีวิตในข้อใดอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา

       1. ก และ ง

       2. ข และ ค

       3. ค และ ง

       4. ก และ ง

 


คำตอบข้อ 3 ) ตอบ 4

เหตุผล

     • สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา มีเซลล์แบบโพรคาริโอต คือไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรมจึงไม่พบนิวเคลียส
     • มีทั้งที่ดำรงชีวิตอิสระ และสร้างอาหารเองโดยการสังเคราะห์แสงดังนั้นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอราจึงมีทั้งที่มีคลอโรฟิลล์ (เช่นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ) และเซลล์ที่ไม่มีคลอโรฟิลล์  (เช่น ไรโซเบียม, แลคโตบาซิลัส)
 
 
ข้อ 4) ต้นมะม่วงตอบสนองต่อภาวะแห้งแล้ง เนื่องจากฝนไม่ต้องตกตามฤดูกาลอย่างไร (O-net 49)

       1. ปากใบเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อรับน้ำจากอากาศปาก

       2. ปากใบปิดเฉพาะเวลากลางคืน เพื่อป้องกันการสญเสียน้ำ

       3. รากใช้พลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถดูดน้ำได้

       4. ทิ้งใบบางส่วน เพื่อลดการคายน้ำ


คำตอบข้อ 4 ) ตอบ 4

เหตุผล

•ปากใบเปิดกว้างมากขึ้นเพื่อรับน้ำจากอากาศ ==>ผิดหลักการปรับตัวของพืชเพื่อลดการสูญเสียน้ำซึ่งต้องปิดปากใบ

•ปากใบปิดเฉพาะเวลากลางคืนเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ==>ผิดหลักการปรับตัวของพืชเพื่อลดการสูญเสียน้ำซึ่งตัวอย่างกรณีของพืช CAM ที่ลดการสูญเสียน้ำก็เปิดปากใบตอนกลางคืนและปิดตอนกลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ

•รากใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถดูดน้ำได้ ==>  น้ำจะเข้าสู่รากโดยอาศัยการแพร่แบบออสโมซีสซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อกั้นโดยไม่ต้องอาศัยพลังงานกระตุ้น

•ดังนั้นข้อที่จะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ทิ้งใบบางส่วนเพื่อลดการคายน้ำ

 

 
 
ข้อ 5) ลอกผิวใบว่านกาบหอยแล้วแช่ลงในสารละลายน้ำตาลกลูโคส เมื่อนำมาช่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นลักษณะดังภาพ (O-net 49)

O-net49C5

 

สารละลายกลูโคสนี้เป็นสารละลายประเภทใด เมื่อเทียบกับสารละลายในเซลล์ผิวใบ

       1. สารละลายไฮโพโทนิค    

       2. สารละลายไฮเพอร์โทนิค   

       3. สารละลายไอโซโทนิค

       4. อาจเป็นข้อ 2 หรือ 3 ก็ได้


คำตอบข้อ 5 ) ตอบ 2

เหตุผล

       • จากภาพเซลล์เหี่ยวเนื่องจากเซลล์สูญเสียน้ำแสดงว่าน้ำตาลกลูโคสมีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายในเซลล์ ซึ่งสารละลายที่เข้มข้นมากกว่าเซลล์จัดเป็น สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution)

 

 
 
 
 
หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 

 


กลับหน้าหลัก

 

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ