เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2552สอบกุมภาพันธ์ 2553

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2552 สอบกุมภาพันธ์ 2553

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 4 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 3 )

ข้อ 5 ( 1 )

ข้อ 6 ( 4 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 3 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 2 )

ข้อ 12 ( 2 )

ข้อ 13 ( 3)

ข้อ 14 ( 2)

 

ข้อ 15 ( 2 )

ข้อ 16 ( 1 )

ข้อ 17 ( 4 )

ข้อ 18 ( 1 )

ข้อ 19 ( 2 )

ข้อ 20 ( 3 )

 

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 

ข้อ 1)เซลล์ที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ : ดีเอ็นเอ ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ และ ไมโทคอนเดรีย เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใด (O-net 52)

      1. แบคทีเรีย
      2. พืชเท่านั้น
      3. สัตว์เท่านั้น
      4. อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
 

คำตอบข้อ 1 ) ตอบข้อ 4 อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์

เหตุผล เซลล์ดังกล่าวพบไมโทคอนเดรียแสดงว่าเป็นเซลล์ยูคาริโอต  แต่แบคทีเรียมีเซลล์แบบโพรคาริโอตดังนั้นเซลล์ในข้อนี้จึงเป็นได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

       

    
ข้อ 2) กระบวนการใดไม่พบในกระบวนการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไต (O-net 52)

       1. การแพร่
       2. ออสโมซิส
       3. เอนโดไซโทซิส
       4. การลำเลียงแบบใช้พลังงาน

 

คำตอบข้อ 2 ) ตอบ ข้อ 4 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน

เหตุผล

      กระบวนการทั้ง 4 พบได้ในการดูดกลับสารที่ท่อหน่วยไต แต่โจทย์ในข้อนี้ถามเกี่ยวกับ การดูดกลับน้ำ  ซึ่งดูดกลับโดยอาศัยกระบวนการแพร่ แบบออสโมซีส นอกจากนี้ที่ท่อหน่วยไตยังมีการนำสารเข้าสู่เซลล์แบบพิโนไซโทซีส (Pinocytosis) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การดื่มของเซลล์ (Cell drinking) โดยเซลล์จะได้รับน้ำเข้าไปด้วย ซึ่งการเกิดพิโนไซโทซีส จัดเป็น เอนโดไซโทซีส ชนิดหนึ่ง  ดังนั้นการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตจึงไม่พบการลำเลียงแบบใช้พลังงาน

 
ข้อ 3) เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (O-net 52)
       1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       2.  การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
       3.  แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว
       4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้

คำตอบข้อ 3 ) ตอบ ข้อ 2 การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง

เหตุผล

   ฮอร์โมนวาโซเปรสซิน(Vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก (Antidiuretic) หรือ ADH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก neuroscretory cell ของไฮโพทาลามัส แล้วเก็บไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนท้าย โดย ADH ทำหน้าที่ ดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเพื่อลดแรงดันออสโมติกในกระแสเลือด (เมื่อร่างกายต้องการน้ำ)  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกและ สารเคมี บางชนิด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน ADH เช่น ความเย็น  สารคาเฟอีนในชา  กาแฟ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง

 

 
 
 
ข้อ 4) การดื่มน้ำส้มเป็นปริมาณมาก ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด (O-net 52)

      1. เป็นกรดจริง เพราะวิตามินซีละลายน้ำได้
      2. เป็นกรดจริง เพราะน้ำส้มมีรสเปรี้ยวและมีปริมาณกรดสูง
      3. ไม่เป็นกรด เพราะเลือดมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์
      4. ไม่เป็นกรด เพราะร่างกายจะได้รับอันตรายได้หากเลือดมีสภาวะเป็นกรด



คำตอบข้อ 4 ) ตอบ ข้อ  3 ไม่เป็นกรด เพราะเลือดมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์

เหตุผล

           สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer solution)      เป็นสารละลายกรดอ่อนหรือด่างอ่อนซึ่งสามารถลดการเปลี่ยนแปลงของ pH  โดยสารละลายใดๆที่เป็นสารละลายบัฟเฟอร์ เมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่ลงไปเพียงเล็กน้อยจะทำให้  pH  ของสารละลายเปลี่ยนไปน้อยมาก  จนถือได้ว่าไม่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งในสิ่งมีชีวิตก็มีสารละลายบัฟเฟอร์ ซึ่งแยกออกตามบริเวณที่พบดังนี้
          1.      ระบบบัฟเฟอร์ในเลือด (blood  buffer)                            
          2.      ระบบบัฟเฟอร์ในเนื้อเยื่อ (tissue  buffer)                            
          3.      การทำงานของระบบหายใจ (respiration  mechanism)                            
          4.      การทำงานของไต (renal  mechanism)

         เป็นผลให้เมื่อร่างกายได้รับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเป็นด่างเข้าไปทำให้ pH ของร่างกายเปลี่ยนไปน้อยมาก  จนถือได้ว่าไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือ ข้อ 3
ไม่เป็นกรด เพราะเลือดมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์

 
 

ข้อ 5) วิธีการในข้อใดที่ใช้ควบคุมโรคไวรัสในพืชได้ผลดีที่สุด (O-net 52)

       1. การเผาทำลายพืช
       2. การฉีดวัคซีน
       3. การใช้ยาปฏิชีวนะ
       4. การเพิ่มไนโตรเจนในดิน

 


คำตอบข้อ 5 ) ตอบ ข้อ 1. การเผาทำลายพืช

เหตุผล

              การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( control of virus diseases ) : กระทำโดยการป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธุ์ หรือตัดเอา apical meristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture ) ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส

อ้างอิงจาก
ณัฐินี ปัญญาวงศ์พิทักษ์.โรคพืชจากไวรัส.ตุลาคม 2556.จาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404

 

 
 
 
หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 


กลับหน้าหลัก

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ