การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพคือ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

      :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

          

สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายแตกต่างกันนักวิทยาศาสตร์มีเครื่องมือที่ใช้ในการระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต คือ ไดโคโตมัสคีย์  (dichotomous) คือ เครื่องมือในการแบ่งกลุ่มย่อยสิ่งมีชีวิต โดยเปรียบเทียบความแตกต่างทีละคู่ของโครงสร้างลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะ การแบ่งสิ่งมีชีวิตทีละ2 กลุ่มทำให้พิจารณาได้ง่ายไม่สับสนและสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มจะมีไดโคโตมัสคีย์ที่เหมาะสมเฉพาะ ใช้แยกกลุ่มย่อยของสิ่งมีชีวิตนั้น

ชนิดของ ไดโคโตมัสคีย์ ( Dichotomous key)
          คู่มือวิเคราะห์เป็นเพียงเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการตรวจสอบชนิดและชื่อวิทยาศาสตร์โดยใช้ลักษณะสำคัญเช่น นิสัย ถิ่นที่อยู่ และโครงสร้างทางสัญฐานวิทยาต่างๆ มาเขียนเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ โดยไม่มีคำบรรยายลักษณะเช่น
           แบบคู่ขนาน  (Bracketed  key)  การนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ จึงมีลักษณะเป็น 2 หัวข้อและมีหมายเลขกำกับ (นิยมใช้ใช้ในงานทางด้านสัตววิทยา) ข้อดีคือพิมพ์ง่าย อ่านง่าย เพราะนำลักษณะที่แตกต่าง ตรงข้าม โครงสร้างเดียวกันมาวางพิมพ์เรียงเข้าคู่ เปรียบเทียบกัน หมายเลขที่อยู่ท้ายสุดของเส้นปะ เป็นเลขบอกให้ติดตามพิจารณาในคู่ต่อไป ซึ่งมีหมายเลขอยู่ด้านหน้าเป็นเลขเดียวกัน
          แบบสรุปความ  (Synoptical  key) เป็นการอธิบายลักษณะต่างๆอย่างละเอียดแต่เขียนเป็นหัวข้อ แต่ละข้อยาวหลายบรรทัด  (ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้)
          แบบเยื้องเข้าข้างใน (Indented  keyหรือ Yoked  key)  เป็นการนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆเช่นเดียวกับแบบคู่ขนาน  แต่จะพิมพ์เยื้องเข้าข้างในของลักษณะที่แตกต่างกันแต่ละคู่  คู่ที่ต่างกันจะเรียงอยู่ในตำแหน่งตรงกัน  และใช้อักษรหรือหมายเลขกำกับตัวเดียวกันเป็นแบบซึ่งนิยมใช้ในทางพฤษศาสตร์

 

 การใช้รูปวิธาน (Dichotomous key)
          เมื่อได้ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้จักชื่อนำมาตรวจสอบหาชื่อต้องเลือกใช้รูปวิธานให้ตรงกับจุดประสงค์  เลือกรูปวิธานที่เกี่ยวข้อง  จากนั้นจึงนำไปตรวจสอบกับรูปวิธาน  เมื่อได้ชื่อของสิ่งมีชีวิตแล้ว  ควรอ่านคำบรรยายลักษณะนั้นๆเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
          การสร้างรูปวิธาน
เมื่อมีตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและมีความประสงค์จะสร้างรูปวิธานให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

    • นำสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมาศึกษาลักษณะต่างๆ
    • สร้างตารางเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตกับลักษณะของสิ่งมีชีวิต
    • เขียนรูปวิธานนิยมแบ่งลักษณะออกเป็นคู่ซึ่งจะทำให้สิ่งมีชีวิตออกเป็นสองกลุ่ม
    • เลือกลักษณะที่แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นสองกลุ่มนำมาเขียนรูปวิธาน เช่น ลักษณะนิสัย  ถิ่นที่อยู่  ลักษณะโครงสร้างที่สังเกตได้ชัดเจน


        

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
    อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ