การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพคือ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

      :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

แบบฝึกที่1.2

          

                      คำชี้แจงตอนที่ 1  ให้นักเรียนสืบค้นชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่ระบุให้ต่อไปนี้ เขียนให้ถูกต้อง                       
                      พร้อมทั้งแยกส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนของชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

จีนัส

สปีชีส์

ผู้ตั้งชื่อ

กระเจี๊ยบแดง

 

 

 

 

ฝรั่ง

 

 

 

 

ขมิ้น

 

 

 

 

กระเทียม

 

 

 

 

ตะขบฝรั่ง

.

 

 

 

หางนกยูงไทย

 

 

 

 

มะพร้าว

 

 

 

 

มะขาม

 

 

 

 


                       คำชี้แจงตอนที่ 2    
                       1.ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการสร้างไดโคโตมัสคีย์ในการจำแนกแมลงต่อไปนี้
                       2.ให้ลงมือสร้างไดโคโตมัสคีย์ของสิ่งมีชีวิตที่กำหนดให้
แมงปอ
แมลงทับ
ผีเสื้อ
 ด้วง
แมลงเต่าทอง

จิ้งหรีด

 

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาลักษณะของแมลงแต่ละชนิด


แมลงปอ
          คือ แมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,แมลงปอ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki

แมลงทับ
          เป็นแมลงในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera) แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมากหัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับ อัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงิน, แดง, ดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ
          แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กันแมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,แมลงทับ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki
      

ผีเสื้อ
           มีปีกเป็นแผ่นบางสองคู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่น เมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียก ผีเสื้อกลางวัน,  และชนิดหากินในเวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน,
มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,ผีเสื้อ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki

 

ด้วง
           ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว
          ส่วนหัว
 มีตารวม 1 คู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีตาเดี่ยว 1-2 ตาด้วย มีหนวด ส่วนของปากประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ แต่ส่วนที่แข็งและมีพละกำลังมากที่สุด คือ กรามปาก นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนของริมฝีปากบน, ริมฝีปากล่างช่วยในการส่งผ่านอาหารเข้าปาก
          ส่วนอก ส่วนอกของด้วงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปล้อง คือ อกปล้องแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่ติดกับส่วนหัว เป็นส่วนอกปล้องเดียวที่สามารถมองเห็นได้จากด้านบน ซึ่งอกส่วนนี้อาจดูคล้ายส่วนหัวมาก แต่หากสังเกตให้ดีจะเห็นรอยต่อของส่วนหัวกับอกปล้องแรกนี้แยกจากกันชัดเจน, อกปล้องสอง และป้องสาม มักถูกปีกแข็งปิดคลุมด้านบนไว้ ส่วนของอกปล้องทั้ง 3 มีขาติดอยู่กับปล้องละ 1 คู่ อกปล้องกลาง หรืออกปล้องที่สอง มีปีกแข็งหรือปีกคู่หน้าติดอยู่
           ส่วนท้อง โดยปกติแล้วจะมี 7 ปล้อง แต่บางชนิดก็มี 8 ปล้อง ปล้องท้องแต่ละปล้องมีแผ่นแข็งแต่ละแผ่นคลุมไว้ทั้งด้านบน และด้านล่าง ส่วนของท้องมักถูกปีกแข็งคู่หน้าคลุมไว้จนมิด แต่บางครั้งก็มีส่วนปลายสุดโผล่ยื่นออกมา

อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,ผีเสื้อ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki

 

แมลงเต่าทอง
          แมลงเต่าทองมีช่วงการเจริญเติบโตครบทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะดักแด้  ตัวเต็มวัยหลังจากฟักออกจากดักแด้จะเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาว 3-6 มิลลิเมตร ลำตัวมีลักษณะมันวาว มีหลายสีตามชนิด อาทิ สีน้ำตาลแดง สีแดง สีเหลืองปนน้ำตาลแดง และสีเหลือง เป็นต้นส่วนหัว และอกมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนท้อง ปีกแต่ละข้างมีลายหยักขวาง 2 เส้น โดยส่วนปีกอาจมีได้หลายสี แต่ทุกชนิดจะมีจุดสีดำแต้มติดบนส่วนปีก จุดนี้อาจมี 4 จุด หรือมากกว่า และมักพบจุดแต้มสีดำที่แต้มเชื่อมกันบริเวณกึ่งกลางโคนปีกที่เชื่อมติดกับส่วนอก บางชนิดอาจมีหนวด แต่บางชนิดไม่มีหนวด อาจมีขนปกคลุม และอาจไม่มีขนปกคลุมขามี 6 ขา สีดำ ขาคู่แรกอยู่ที่ส่วนอก ส่วนขาอีก 2 คู่ อยู่ที่ตอนต้นติดกับส่วนอก 1 คู่ และตอนกลางของส่วนท้อง 1 คู่ ขามีลักษณะเป็นปล้องต่อกัน 3 ปล้อง แบ่งเป็นโคนขา ขา และเท้าที่เป็นปล้องสุดท้าย มีระยะตัวเต็มวัยประมาณ 55-92 วัน มีวงจรชีวิตประมาณ 71-117 วัน
อ้างอิงจาก
ปสุสัตว์.คอม,แมลงเต่าทองและแมลงเต่าลาย,กรกฎาคม 2558,จาก http://pasusat.com/

 

จิ้งหรีด
          จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขาคู่หลังส่วนต้นมีขยายใหญ่ และแข็งแรง ใช้สำหรับกระโดด ขาคู่หน้ามีขนาดเล็กกว่าขาคู่หลังมาก ใช้สำหรับเดิน และเขี่ยอาหาร มีหนวดยาว 2 เส้น ขนาดเท่าเส้นผมคนเรา ความยาวหนวดประมาณ 3-5 ซม. และมากกว่าลำตัว หนวดมีหน้าที่รับความรู้สึก และรับกลิ่นอาหาร มีปากเป็นแบบกัดกิน ปีกขวาทับปีกซ้าย ปีกคู่หน้าปกคลุมด้วยฟิล์มบางๆการทำเสียงเสียงจิ้งหรีดเกิดจากการใช้ขอบปีกคู่หน้าถูเสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง เสียงที่ทำขึ้นใช้เพื่อการสื่อสาร และช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์
อ้างอิงจาก
ปสุสัตว์.คอม,จิ้งหรีดและการเลี้ยงจิ้งหรีด,กรกฎาคม 2558,จาก http://pasusat.com/

 

ขั้นที่ 2 สร้างแผนผังพิจารณาความแตกต่างของแมลงออกเป็นรายคู่

ขั้นที่ 3 การนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ จึงมีลักษณะเป็น 2 ใน1หัวข้อและมีหมายเลขกำกับ

1   ก) แมลงปีกแข็ง_________________________________________ดูข้อ 2 ( แมลงเต่าทอง , แมลงทับ , ด้วง)
     ข) แมลงปีกอ่อน_________________________________________ดูข้อ 3 (ผีเสื้อ , จิ้งหรีด , แมลงปอ)

2  ก) ขนาดตัวยาวมากกว่า 1 cm_______________________________ดูข้อ 4 (แมลงทับ , ด้วง)
    ข) ตัวขนาดเล็กยาวไม่เกิน 1 cm______________________________แมลงเต่าทอง

3  ก) ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้า__________________________________ผีเสื้อ
    ข) ปากแบบกัด___________________________________________ดูข้อ 5 (จิ้งหรีด , แมลงปอ)

4  ก) ปีกสีเขียวอมน้ำเงิน _____________________________________แมลงทับ
    ข) ปีกมีสีน้ำตาลเข้ม_______________________________________ด้วง

5  ก) ปีกสามารถทำให้เกิดเสียงได้_______________________________จิ้งหรีด
    ข) ปีกแผ่ออกและโปร่งแสง__________________________________แมลงปอ

 

ขั้นที่ 4 อธิบายลักษณะของแมลงแต่ละชนิดที่ได้จากการจัดจำแนก


แมลงเต่าทอง   เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวขนาดเล็กยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร
ผีเสื้อ             เป็นแมลงปีกอ่อน ปากเป็นงวงม้วนเข้า
แมลงทับ        เป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดตัวยาวมากกว่า 1เซนติเมตร มีปีกสีเขียวอมน้ำเงินแวววาว
ด้วง              เป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดตัวยาวมากกว่า 1เซนติเมตร มีปีกสีน้ำตาลเข้ม
จิ้งหรีด           เป็นแมลงปีกอ่อนปากแบบกัด มีปีกที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้
แมลงปอ        เป็นแมลงปีกอ่อน ปากแบบกัด มีปีกที่แผ่ออกและโปร่งแสง

 

2.ให้นักเรียนสร้างไดโคโตมัสคีย์ สิ่งมีชีวิตที่กำหนดให้ต่อไปนี้

 

ดอกราชพฤกษ์

ดอกกล้วยไม้แวนด้า

ดอกซิมปอร์

ดอกลำดวน

ดอกกล้วยไม้ราตรี
ดอกบัว
ดอกจำปา
ดอกชบา
ดอกพุดแก้ว
ดอกประดู่

ขั้นที่ 1 สืบค้นลักษณะของดอกไม้แต่ละชนิด
ดอกราชพฤกษ์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกกล้วยไม้แวนด้า
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกซิมปอร์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกลำดวน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกกล้วยไม้ราตรี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกบัว
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกจำปา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------   
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกชบา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดอกพุดแก้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกประดู่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นที่ 2 สร้างแผนผังพิจารณาความแตกต่างของดอกไม้แต่ละชนิดออกเป็นรายคู่

ขั้นที่ 3 การนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ จึงมีลักษณะเป็น 2 ใน1หัวข้อและมีหมายเลขกำกับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นที่ 4 อธิบายลักษณะของดอกไม้แต่ละชนิดที่ได้จากการจัดจำแนก
ดอกราชพฤกษ์………………………………………………………………………………………………
ดอกกล้วยไม้แวนด้า………………………………………………………………………………………….
ดอกซิมปอร์………………………………………………………………………………………………….
ดอกลำดวน…………………………………………………………………………………………………..
ดอกกล้วยไม้ราตรี…………………………………………………………………………………………….
ดอกบัว………………………………………………………………………………………………………
ดอกจำปา…………………………………………………………………………………………………….
ดอกชบา…………………………………………………………………………………………………….
ดอกพุดแก้ว………………………………………………………………………………………………….
ดอกประดู่…………………………………………………………………………………………………….

 

 

จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ