การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่พัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง     

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

 

          สัตว์มีกระดูกสันหลังที่เห็นในขณะนี้มีรูปร่างเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน แต่ละกลุ่มมีความหลากหลายแตกต่างกัน ซึ่งอย่างน้อยมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกันกับบรรพบุรุษ และมีลักษณะเฉพาะบางอย่างแตกต่างออกไป และลักษณะที่แตกต่างกันเหล่านี้สามารถถ่ายทอดต่อไปยังลูกหลานได้ การที่สิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกันตามสายวิวัฒนาการนั้น มีลักษณะ คล้ายคลึงกับการแตกแขนงกิ่งก้านของต้นไม้เรียกว่า phylogeny (ไฟโลจินี) การเขียนไดอะแกรมของสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันและระบุระยะเวลาในการวิวัฒนาการเรียกว่า phylogenetic tree (ไฟโลเจนนิติกทรี) เช่น phylogenetic tree ของสัตว์มีแกนสันหลัง (chordates) หากไม่ระบุระยะเวลาของวิวัฒนาการเรียกว่า cladogram (คลาโดแกรม) สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในกลุ่มเดียวกัน มีลักษณะเฉพาะพัฒนาต่างกันออกไปเรียกว่า clade (เคลด) ดังนั้นสิ่งมีชีวิตใน clade เดียวกันย่อมวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน สัตว์มีกระดูกสันหลังได้แก่สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา

ภาพที่ 1 แสดง phylogenetic tree ของสัตว์มีแกนสันหลัง
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) มีลักษณะ สำคัญที่พบในวัฎจักรชีวิตในระยะเอ็มบริโอ ดังนี้

          1.มีโนโทคอร์ด (notochord) หรือ แกนสันหลัง ลักษณะเป็นแท่งยาวตลอดความยาวของลำตัว มีความยืดหยุ่นตัวดี อยู่ระหว่างท่อทางเดินอาหารและท่อประสาท เป็นลักษณะที่พบในระยะเอ็มบริโอ ของสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาทุกชนิด และในบางชนิดยังคงพบในระยะตัวเต็มวัย เช่น แอมฟิออกซัส (amphioxus) และปลาปากกลมพวกแฮกฟิช (hagfish)

          2.  มีท่อประสาทกลวงที่ด้านหลัง (hollow nerve cord)  ซึ่งเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นเอ็กโทเดิร์ม พบบริเวณด้านหลังเหนือโนโทคอร์ดในระยะเอ็มบริโอซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นสมอง และ ไขสันหลังในระยะตัวเต็มวัย

          3.  มีช่องเหงือกอยู่บริเวณด้านข้างของคอหอย (pharyngeal slits)  โดยอยู่เป็นคู่ๆ ทำหน้าที่กรองอาหารในน้ำที่ไหลผ่านเข้ามา พบในระยะตัวอ่อนของสัตว์กลุ่มนี้ทุกชนิด และมีการปรับเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่นๆ ในระยะตัวเต็มวัยต่อไป เช่น เป็นท่อยูสเตเชียน ต่อมทอนซิล ต่อมไทรอยด์ และ พาราไทรอยด์ ในคน เป็นต้น แต่ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น ฉลาม กระเบน ยังคงมีช่องเหงือกอยู่ตลอดชีวิต

          4. กล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นท่อนและมีหางหลังรูทวารหนัก บริเวณท้ายลำตัว (muscle segment and post anal tail)   พบในสัตว์ส่วนใหญ่ในไฟลัมนี้

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่เจริญเป็นกระดูกสันหลัง หรือกลุ่มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

 

ภาพที่ 2 แสดงลักษณะเฉพาะของสัตว์มีแกนสันหลัง
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ