![]() |
||||||||||||||||
|
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ลักษณะที่ใช้จำแนกสัตว์ นักอนุกรมวิธานส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสัตว์มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในตั้งแต่ช่วง 1,000 ถึง 580 ล้านปีที่ผ่านมา โดยมีวิวัฒนาการมาจากพวกโพรทิสต์ที่มีแฟลเจลลัมและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colonial flagellated protist) จากวันที่มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ สัตว์มีวิวัฒนาการออกเป็นชนิดต่างๆ มากมาย ในการจัดจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ นั้นเราใช้ลักษณะบางอย่างช่วยในการจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ ลักษณะเหล่านั้นซึ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับพร้อมๆ กับวิวัฒนาการของสัตว์ได้แก่ 1. เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริงหรือไม่ การแบ่งแบบนี้ทำให้เราสามารถแบ่งสัตว์ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ได้แก่ พวกฟองน้ำในไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) และกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ซึ่งได้แก่สัตว์ส่วนใหญ่ทั้งหมดโดยสัตว์ในไฟลัมไนดาเรียจะมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ส่วนสัตว์ในไฟลัมอื่นๆจะมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น 2. ลักษณะสมมาตรของร่างกาย คือ การจัดสมดุลของร่างกายเมื่อแบ่งร่างกายออกโดยใช้ระนาบกึ่งกลาง แบ่งเป็น สัตว์ที่ไม่มีสมมาตร (asymmetry) การจัดเรียงตัวของส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นแบบไม่มีจุดศูนย์กลาง มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น ฟองน้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ใน Phylum Porifera สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) ถ้าแบ่งร่างกายจากส่วนปากไปสู่ส่วนท้ายของลำตัวไม่ว่าจะเป็นด้านใด จะได้ส่วนแบ่งของร่างกายสองด้านที่เหมือนกัน ถ้ามีการจัดเรียงตัว พบได้ในสัตว์บางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น ส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ เช่น ไฮดรา ,แมงกะพรุน , ดอกไม้ทะเล ,ดาวทะเล สมมาตรด้านข้าง ,สมมาตรซ้ายขวา หรือ สมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) ซึ่งพบได้ในสัตว์ส่วนใหญ่ ระนาบที่ตัดผ่านเส้นกลางลำตัวตามแนวตั้งสามารถแบ่งสัตว์ออกเป็นสองซีกที่เหมือนกันทั้งซีกซ้ายและขวา ด้านหน้า (anterior end) ของสัตว์กลุ่มนี้จะเป็นที่ตั้งของอวัยวะที่สำคัญ เช่น อวัยวะรับสัมผัส มีการพัฒนาส่วนหัวเป็นศูนย์รวมของเนื้อเยื่อประสาท และอวัยวะรับสัมผัส ทำให้สัตว์เคลื่อนที่หาอาหารและหลบศัตรูได้ดี นอกจากนี้สัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้างยังมีการพัฒนาส่วนหัวให้เป็นศูนย์รวมของสมองและอวัยวะรับสัมผัส ทำให้สัตว์กลุ่มนี้เคลื่อนที่หาอาหารและหลบหลีกศัตรูได้ดี
3. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ (Blastopore) เป็นช่องที่เกิดจากการม้วนตัวของชั้นเนื้อเอนโดเดิร์ม ในช่วงการเจริญของตัวอ่อนระยะแกสทูร่า (gastrula) พบเฉพาะสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง มี่ 2 แบบ คือ แบบโพรโทสโทเมีย (protostomia) หมายถึงพวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นช่องปาก และ แบบดิวเทอโรสโทเมีย (deuterostomia) หมายถึงพวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นทวารหนัก
4. การเจริญในระยะตัวอ่อน พบในสัตว์กลุ่มที่มีช่องปากแบบโพรโทสโทเมีย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ (trochophore) พบในสัตว์พวกหนอนตัวแบน ไส้เดือนดิน ปลิง หอยและหมึก เป็นต้น และเอ็กไดโซซัว (ecdysozoa) เป็นกลุ่มที่มีการลอกคราบ ขณะเจริญเติบโต ซึ่งพบในหนอนตัวกลม และ อาร์โทรพอด
นอกจากเราจะจัดจำแนกสัตว์ตามเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วยังมีเกณฑ์ อื่นๆอีกมากมายเช่น ระบบทางเดินอาหาร ,ระบบหมุนเวียนเลือด และลักษณะของโพรงลำตัว (coelom) ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในระยะเอ็มบริโอของสัตว์กลุ่มที่มีเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม (mesoderm) มีพัฒนาการเกิดเป็นโพรงลำตัว ซึ่งต่อมาเมื่อเป็นร่างกายแล้ว โพรงลำตัวเหล่านี้เป็นที่ห่อหุ้มยึดเกี่ยวของอวัยวะภายในต่างๆ แบ่งเป็น สัตว์ที่ไม่มีช่องลำตัว, สัตว์ที่มีช่องลำตัวเทียม และ สัตว์ที่มีช่องลำตัวแท้ สัตว์ที่ไม่มีโพรงลำตัว (acoelomate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่เนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ไม่มีการพัฒนาไปเป็นโพรงลำตัว ทำให้ร่างกายของสัตว์กลุ่มนี้อัดแน่นไปด้วยเนื่อเยื่อดังกล่าว ได้แก่สัตว์ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes) สัตว์ที่มีโพรงลำตัวเทียม (pseudocoelomate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีโพรงลำตัว แต่ โพรงลำตัวเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์มกับเนื้อเยื่อชั้นอื่น เช่น เกิดกับเนื้อเยื่อชั้นเอนโดเดิร์ม ได้แก่ ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda) สัตว์ที่มีโพรงลำตัวแท้ (Eucoelomate) เป็นโพรงลำตัวที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ได้แก่ ไฟลัมมอลลัสกา , ไฟลัมแอนนิลิดา, ไฟลัมเอไคโนเดอมาตา, ไฟลัมคอร์ดาตา
สัตว์ในปัจจุบันที่พบ และ มีการจำแนกแล้วมีมากกว่า 1.5 ล้านสปีชีส์ พบได้ทุกแห่งหนบนโลกแม้ว่ากำเนิดของสัตว์ในระยะแรกจะอาศัยอยู่ในน้ำ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมบนพื้นดินมีความเหมาะสม ทำให้สัตว์บางกลุ่มประสบความสำเร็จเมื่อมาอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆตามสายวิวัฒนาการได้ดังนี้
|
|||||||||||||||
รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา |