การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

     :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

       :: ลักษณะสำคัญของฟังไจ

       :: ความหลากหลายของฟังไจ

            ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา

            ไฟลัมไซโกไมโคตา

             ไฟลัมแอสโคไมโคตา

             ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา         

         :: แบบฝึกที่ 5.1  

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมแอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota)

 

           เป็นไฟลัมที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด ซึ่งมีทั้งที่มีลักษณะเป็นเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ชนิดต่างๆ และที่มีหลายเซลล์เป็นกลุ่มเส้นใยหรือไมซีเลียม ลักษณะเส้นใยมีผนังกั้นเซลล์แต่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ที่ติดกันเพื่อลำเลียงสารอาหารระหว่างเซลล์ได้ ตัวอย่างเช่น ยีสต์, เห็ดโมเรล ,ทรัฟเฟิล และราแดง เป็นต้น ราในไฟลัมนี้การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) บนก้านชู (conidiophore)  ส่วนยีสต์นั้นจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ สำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของราในไฟลัมนี้จะสร้างสปอร์ที่เรียกว่าแอสโคสปอร์ (ascospore) ภายในโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นถุงเรียกว่าแอสคัส (ascus)  แอสคัสส่วนใหญ่มักจะถูกห่อหุ้มด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า fruiting body หรือแอสโคคาร์ป (ascocarp) ซึ่งมีรูปร่างที่หลากหลายแตกต่างกัน เช่นรูปถ้วย หรือรูปกลม โดยราบางชนิดอาจสร้าง ascocarp ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อพิเศษ

         จากราจำนวน 13,500 ชนิดที่อยู่ร่วมกันกับสาหร่าย ที่สามารถสร้างไลเคน ได้ส่วนใหญ่เป็นราในไฟลัมแอสโคไมโคตา

          เห็ดโมเรล(morel) และทรัฟเฟิล (truffle) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในประเทศเขตหนาว มีราคาแพงเนื่องจากมีรสชาติอร่อย และไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ ต้องเก็บจากป่าใต้ต้นไม้ใหญ่ ทรัฟเฟิล อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืช จัดเป็นไมคอร์ไรซา และสร้างดอกเห็ดอยู่ใต้ดิน บางครั้งต้องใช้สัตว์ที่มีจมูกดี เช่น สุนัข หรือหมูช่วยในการค้นหา

ภาพที่ 12 (ซ้าย) แสดงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของราไฟลัมแอสโคไมโคตา (ขวา) แสดงการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของราในไฟลัมแอสโคไมโคตา
(ที่มา: http://www.thaigoodview.com/files/u19289/ascomycota_______0.jpg)

 

ภาพที่ 13 (ก) แสดงฟรุตติงบอดีแบบรูปถ้วย (apothecium)
(ที่มา: http://www.chpwner.org/wiki-scholars/biology/classification/fungi)

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ