การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

     :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

       :: ลักษณะสำคัญของฟังไจ

       :: ความหลากหลายของฟังไจ

            ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา

            ไฟลัมไซโกไมโคตา

             ไฟลัมแอสโคไมโคตา

             ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา         

         :: แบบฝึกที่ 5.1  

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Phylum Basidiomycota)

 

          ราในไฟลัมนี้มีการสร้างสปอร์ที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ที่คล้ายกับราในไฟลัมแอสโคไมโคตา คือพบ conidia แต่การสืบพันธุ์แบบไม่อาสัยเพศ จะเกิดน้อยกว่าสมาชิกของไฟลัม Ascomycota

          ส่วนใหญ่ราในไฟลัมนี้เป็นกลุ่มเห็ดราที่มักสร้างฟรุตติงบอดีขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างและสีสันค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ เห็ดชนิดต่างๆ ทั้งที่สามารถรับประทานได้และที่เป็นพิษ แต่ก็มีราบางชนิดในไฟลัมนี้ที่ไม่สร้างฟรุตติงบอดี และเป็นปรสิตพืช เช่น ราสนิมและราเขม่าดำ ลักษณะที่สำคัญของเห็ดราในPhylum Basidiomycota คือมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) บนโครงสร้างที่เรียกว่า เบสิเดียม (basidium) ที่อยู่ในส่วนของ  ไฮเมโนฟอร์(hymenophore) ที่มีลักษณะเป็นครีบ หรือ เป็นรู รากลุ่มนี้สามารถย่อยสลายพอลิเมอร์แบบต่างๆได้ เช่น ลิกนิน เป็นต้น ตัวอย่างฟังไจกลุ่มนี้ได้แก่ ราสนิม ราเขม่าดำ เห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดหอม และบางชนิดดำรงชีวิตเป็นไมคอร์ไรซา เช่น เห็ดถอบ หรือเห็ดเผาะที่พบในป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพที่ 14 (ก) ครีบเห็ดหรือไฮเมโนฟอร์ตัดตามแนวขวาง และ (ข) เบสิดิโอสปอร์
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140453.pdf)

 

ภาพที่ 15 แสดงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเห็ดราไฟลัมเบสิดิโอไมโคตาโดยการสร้างเบสิดิโอสปอร์ (ที่มา: http://images.slideplayer.com/13/4142999/slides/slide_63.jpg)

 

ประโยชน์ของเห็ดรา

           เห็ดราหลายชนิดสร้างฟรุตติงบอดีขนาดใหญ่สามารถนำมารับประทานได้ เช่น เห็ดระโงก เห็ดถ่าน เห็ดเผาะ เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีแหล่งหนึ่ง เห็ดบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดเข็มทอง เป็นต้น สร้างรายได้แก่ผู้เพาะเลี้ยงจำนวนมาก ในทางอุตสาหกรรมอาหารมีการนำราหลายชนิดมาใช้ในการผลิตอาหาร เช่น การใช้ยีสต์ในการทาขนมปัง รวมถึงขนมไทยบางชนิด นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น ไวน์ เบียร์และเหล้า ล้วนแต่ได้มาจากกระบวนการหมักของยีสต์ เต้าเจี้ยวและซีอิ้วได้จากการหมักถั่วเหลืองด้วยเชื้อรา Aspergillus oryzae นอกจากนี้ ในการทำเนยแข็งหรือ cheese บางชนิดนิยมบ่มด้วยรา Penicellium camemberti หรือ Penicellium roqueforti และในการทำข้าวหมากจะใช้ราในสกุล Mucor, Rhizopus และยีสต์ เห็ดบางชนิดมีฤทธิ์หรือสรรพคุณทางยา เช่น เห็ดหลินจือ(Ganoderma lucidum) ซึ่งมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญของมะเร็ง กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และเห็ดหัวลิง (Hericium erinaceum) ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงม้าม กระเพาะอาหาร และช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ราบางชนิดสามารถสร้างสารปฏิชีวนะซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น รา Penicillium chrysogenum ผลิตสารเพนนิซิลลินที่ใช้เป็นยาปฏิชีวนะรักษาอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

โทษของเห็ดรา
           เนื่องจากราส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ จึงสามารถก่อให้เกิดผลเสียหรือความเสียหายต่าง ๆ กับมนุษย์ได้ เช่น การเน่าเสียของอาหาร ผักและผลไม้ ผนังอาคาร บ้านเรือน อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ กระดาษ หนังสัตว์ ยางและผ้า เป็นต้น ราบางชนิดเป็นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในพืชเศรษฐกิจ และทำให้เกิดความเสียหายทางการเกษตร เช่น โรคราสนิม โรคใบจุดและโรคใบไหม้ นอกจากนี้รายังมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยสามารถทำให้เกิดโรคที่ผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต รวมไปถึงเกิดการติดเชื้อในร่างกายได้หลายระบบได้แก่ หู ตา จมูก ไซนัส ปอด และสามารถลุกลามไปยังกระดูก สมอง เยื่อหุ้มสมอง เห็ดราบางกลุ่มสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่มีราเหล่านี้ปนเปื้อน เช่น ราในสกุล Aspergillus หลายชนิดที่พบในเมล็ดถั่วและธัญพืช และอาหารแห้งต่างๆ ซึ่งจะสร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน(aflatoxin) ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งตับ เห็ดบางชนิดมีสารที่ออกฤทธิ์กล่อมประสาทและจัดเป็นสารเสพติด เช่น กลุ่มเห็ดขี้ควาย  หรือเห็ดบางชนิดมีพิษเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจถึงแก่ชีวิตได้

 

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ