การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

 

ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria)

       
          ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) เป็นกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่น ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา แมงกะพรุน บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา และ แมงกะพรุนน้ำจืด

          และมีสมมาตรแบบรัศมี ลำตัวมีรูปร่างคล้ายถุง มีช่องกลางตัว (gastrovascular cavity) สำหรับย่อยอาหารซึ่งมีช่องเปิดทางเดียวเป็นทั้งปากและทวารหนัก ลำตัวของสัตว์ในไฟลัมนี้มีรูปทรง 2 แบบ คือแบบโพลิบ (polyps) มีรูปร่างทรงกระบอกและมักจะเกาะติดอยู่กับที่โดยปากเปิดออกทางด้านบน ตัวอย่างเช่น ไฮดรา , ซีแอนีโมนี (sea anemone) และปะการัง  ส่วนอีกรูปทรงหนึ่งเรียกว่าเมดูซา (medusa) มีลักษณะคล้ายร่มและมีปากเปิดออกทางด้านล่าง สัตว์ในไฟลัมนี้ที่มีรูปทรงแบบเมดูซาส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่หรือล่องลอยอยู่ในน้ำ และเรามักเรียกรวมๆกันว่าพวกแมงกะพรุน

ภาพที่ 9 รูปแบบโพลิบ (polyp) และเมดูซา (medusa) ของสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย
(ที่มา : http://frisch-animiert.ch/wp-includes/js/swfupload/polyp-and)

           สัตว์ในไฟลัมไนดาเรียนี้เป็นผู้ล่าจะมีหนวด (tentacle) เรียงอยู่รอบๆปาก และบนหนวดนี้มีเซลล์ไนโดไซต์ (cnidocyte) ที่สามารถปล่อยเข็มพิษออกไปทำหน้าที่ทั้งป้องกันตัวหรือจับเหยื่อกินเป็นอาหารได้ พวกไนดาเรีย  นี้สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ บางชนิดใน วัฏจักร ชีวิตจะมีรูปร่างทั้งที่เป็นแบบโพลิบและเมดูซาสลับกัน

          หอยและหนอนตัวแบนบางชนิดกินสัตว์ในกลุ่มนี้เป็นอาหาร และบางชนิด เช่น แมงกะพรุนเป็นอาหารของคน บางชนิดดำรงชีวิตแบบการได้ประโยชน์ร่วมกัน  เช่น ปูเสฉวน กับดอกไม้ทะเล (ซีแอนีโมนี) มาไว้บนเปลือกเพื่อป้องกันตัว พวกปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตหลักที่ทำให้เกิด ความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแพร่กระจายพันธุ์ ของสัตว์ทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ และเป็นกำแพงธรรมชาติลดความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง จากคลื่นลมและกระแสน้ำ

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ