![]() |
||||
|
ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)สัตว์ในไฟลัมนีมาโทดา พบได้ทั่วไปแทบจะทุกหนทุกแห่ง ในน้ำจืดและน้ำเค็ม หรือในดินที่ชื้นแฉะ ในดินแค่หยิบมือเดียวอาจจะพบสัตว์พวกนี้ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือไส้เดือนฝอยได้หลายพันตัว นอกจากนี้หลายชนิดเป็นปรสิตของพืชและสัตว์ต่างๆ รวมทั้งมนุษย์ เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด และพยาธิไส้เดือน เป็นต้น
สัตว์ในไฟลัมนี้มีลำตัวกลมยาวรูปทรงกระบอก ไม่มีการลอกคราบจึงเรียกกันว่าพวกหนอนตัวกลม มันมีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ แต่ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด จึงต้องใช้ของเหลวในช่องลำตัวเทียมในการลำเลียงอาหาร กล้ามเนื้อทั้งหมดเป็นกล้ามเนื้อตามยาว และมีคิวทิเคิล (cuticle) ปกคลุมลำตัวอยู่ชั้นนอก ทำให้ต้องมีการลอกคราบในระหว่างการเจริญเติบโต พวกหนอนตัวกลมสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยมีการผสมพันธุ์ภายใน และหลายชนิดตัวผู้มักจะเล็กกว่าตัวเมีย ลำเลียงสารอาหารโดยของเหลวภายในโพรงลำตัวเทียม (pseudocoelom) พบเฉพาะกล้ามเนื้อตามยาว
|
|||
รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา |